Page 43 - 0018
P. 43

35



                              กิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพด้านการเกษตร (ทำนา - ฟื้นฟูนาร้าง) พบว่า

               ปัญหาที่ต้องหารือแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันของสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี กรมชลประทาน
               ในปัญหาของธูปฤๅษีที่อยู่ในพื้นที่นา การวิเคราะห์ดิน ระบบน้ำและคูส่งน้ำ และพื้นที่นาร้างมีขนาด 100 ไร่ โดยมี

               การจัดสรรพื้นที่ให้แก่สมาชิกในกลุ่มการทำนา การถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการทำนา
               สมาชิกกลุ่มการทำนาการให้ความรู้เรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่กลุ่มการทำนา สมาชิกกลุ่มการทำนาได้รับ

               ความรู้เรื่องการทำนาอย่างประณีต, การบรรยายเรื่องปุ๋ยเริ่มการปฏิบัติการทำนา ปฏิบัติการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
               คุณภาพ การเก็บเกี่ยวผลผลิต การมอบอุปกรณ์สูบน้ำ คือ พญานาคสูบน้ำและเมล็ดพันธุ์ข้าว การเข้าติดตามการ

               ดำเนินกิจกรรมการทำนา

                      จะเห็นได้ว่า ผู้ปฏิบัติงาน ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและเชื่อมโยงเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ความต่อเนื่อง
                                                                                                         ิ
               ของกระบวนการบริการวิชาการ ตั้งแต่การเริ่มต้นสำรวจ วางแผนงาน การดำเนินงาน และการติดตามและประเมนผล
               การเนินงาน อีกทั้งการส่งต่อให้หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในการรับหน้าที่ดูแล ในแต่ละอาชีพ เพื่อให้การประกอบ
               อาชีพของประชาชนมีความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน ทำให้การดำเนินงานบริการวิชาการด้านทักษะอาชีพ มี

               ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                              4.2.4 การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์การติดตามและการประเมิน
               ผลของการให้บริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ ในการแก้ไขปัญหาความยากจน พบว่า การติดตาม และ

               การประเมินผลการบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เป็นขั้นตอนที่ผสานอยู่ในทุก ๆ ขั้นตอนตั้งแต่
               เริ่มแรก โดยการประเมินผลการพัฒนานั้น ทางคณะผู้ปฏิบัติงานได้ใช้กลไก การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมาร่วม
                                                                                                         ิ
               ตั้งแต่การค้นหาปัญหา โดยใช้ CIPP-IEST ซึ่งปรับขยายของรูปแบบการประเมิน “CIPP Model” ของ สตัฟเฟลบีม
               (Stufflebeam)  ในส่วนของการประเมินแบ่งออกเป็น  2 ส่วน คือ

                                    1) การประเมินความรู้เฉพาะและทักษะอาชีพ ผลการวิเคราะห์การวัดความรู้เฉพาะ
               และทักษะเฉพาะอาชีพ พบว่า ความรู้ทักษะเฉพาะของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้และทักษะอาชีพทั้งก่อน

               และหลังโดยสรุป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 77 และความรู้ทักษะอาชีพ ทั้งก่อนและหลังดำเนินการโดยสรุป เพมขึ้น ร้อยละ
                                                                                                  ิ่
               62 ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางที่ 4-2
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48