Page 46 - 0018
P. 46
38
5) ควรคำนึงถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนเป็นพื้นฐาน ต้องศึกษาบริบทชุมชนให้
ครอบคลุม อาทิเช่น การศึกษาทุนทั้ง 5 ด้าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญในการออกการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ ควรศึกษา
ความรู้และประสบการณ์เดิมของบุคคลในแต่ละกลุ่มอาชีพ และนำทรัพยากรในชุมชนมาประยุกต์ใช้ในการออแบบการ
พัฒนาทักษะอาชีพให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ
6) ผู้ให้บริการควรมีการส่งเสริมการจัดการกลุ่มให้กับผู้รับบริการ เพื่อให้ชุมชนเกิดการพึ่งพา
สมาชิกกันเองได้
7) ควรมีการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาครัฐ/เอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ เป็นกลไก
การขับเคลื่อนงานที่สำคัญในทุก ๆ ด้านของชุมชน เข้ามาหนุนเสริมในทุกๆ กิจกรรมของการพัฒนาทักษะอาชีพ
โดยเชื่อมโยงเครือข่ายให้ตรงต่อความต้องการของแต่ละกลุ่มอาชีพ ควรสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
อาทิ เช่น ผู้นำชุมชน ประชาชน องค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์
อันจะส่งผลให้ผลของการดำเนินงานบริการวิชาการตรงกับความต้องการของชุมชน และยังส่งผลให้การดำเนินงาน
เป็นไปอย่างง่ายด้าย รวมทั้งการทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน กิจกรรมในการดำเนินงาน
ั
บริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพให้เกิดการพฒนาที่มีความมั่นคง และยั่งยืน
ด้านการประสานงาน ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การทำงานบริการวิชาการในพื้นที่เกิดประสิทธิภาพ
และประสบความสำเร็จได้มากขึ้น ตลอดจนหากมีการประสานงานและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ย่อมเกิดความยั่งยืน
และเมื่อพิจารณาถึงบทบาทของการประสานงานในกระบวนการของงานบริการวิชาการ พบว่า มีการประสานงาน
ภายนอก ในระดับหน่วยงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และระดับหน่วยงานกับชุมชน ส่วนภายในระดับชุมชน ได้แก่ ผู้นำกับ
สมาชิกในชุมชนและระหว่างสมาชิกด้วยกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นข้อต่อระหว่างการเชื่อมต่อหรือ
การประสานงานให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องด้วยการประสานงานจำเป็นต้องอาศัยความสามารถและความร่วมมือของ
บุคคล ที่มีความเข้าใจ ตลอดจนกลยุทธของการประสานงานให้เกิดความเข้าใจและการทำงานร่วมกัน โดยใช้ความรอบ
และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน/บุคคล เพื่อนำมาสู่การทำงานร่วมกันแบบบูรณาการสู่เป้าหมายเดียวกัน
ต่อไป