Page 47 - 0018
P. 47

39


                                                           บทที่ 5

                                            สรุปผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ


                       การวิเคราะห์งานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
               กรณีศึกษา : หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์

               ดังนี้ เพื่อวิเคราะห์งานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อวิเคราะห์
               กระบวนการงานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ในพื้นที่บ้านกลาง
               อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี และเพื่อนำผลการวิเคราะห์มากำหนดแนวทางในการดำเนินงานบริการวิชาการ
               ด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่
               การปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานที่วางไว้ ซึ่งได้ทำการสรุปผลการวิเคราะห์ไว้ ดังนี้

                       5.1 งานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน พบว่า งานบริการ
               วิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นการนำองค์ความรู้ ทักษะด้านอาชีพ
               มาถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยคำนึงถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน โดย

               การศึกษาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของชุมชน รวบรวมและนำมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพผ่านกิจกรรม
               ซึ่งมีกระบวนการการพัฒนาทักษะอาชีพที่เป็นระบบ การดำเนินงานมีครบถ้วนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่เริ่มต้น
               การวางแผน การดำเนินการตามแผน การตรวจสอบและการประเมินผลการรับประโยชน์จากการพัฒนาอาชีพ
               ขับเคลื่อนด้วยการกระบวนมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งผู้นำชุมชน ประชาชน ภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน

               เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่วางไว้ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของชุมชน จากการได้รับความรู้และทักษะที่
               สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับตนเอง ครัวเรือน และชุมชน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับ
               ภารกิจ ขอบเขตงาน และความรับผิดชอบหลักของผู้ปฏิบัติงาน ในด้านการนำองค์ความรู้ ทักษะด้านอาชีพ
               มาถ่ายทอดให้กับชุมชน  โดยทำการศึกษา รวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประสานงานการนำองค์

                                                                                                    ั้
               ความรู้ ความชำนาญ งานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อีกทงการเป็นที่
               ปรึกษาทางวิชาการ สู่การให้บริการทางวิชาการตามความต้องการของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ตลอดจนสังคมและ
               ชุมชน
                       5.2 กระบวนการของงานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน

               หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี พบว่า กระบวนการของงานบริการวิชาการด้านการ
               พัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

               ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาบริบทของพื้นที่และหน่วยงาน (2) วิเคราะห์ปัญหาความต้องการรที่
               จำเป็นและนำไปสู่การออกแบบการพัฒนาทักษะอาชีพร่วมกัน (3) ดำเนินงานตามแผนบูรณาการงานร่วมกับ

                                                                                                         ั
               หน่วยงาน ภาคีเครือข่าย (4) ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนดังกล่าวถือเป็นกระบวนการการพฒนา
               ทักษะอาชีพที่เป็นระบบ  มีความครบถ้วนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีการวางแผน ตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน นำไปสู่

               การพัฒนาการบริการวิชาการ ตามแนวคิด วงจรเดมิ่ง (Deming Cycle) : PDCA มีขั้นตอนดังนี้

                       1. การวางแผน (Plan) วางแผนการให้บริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความ
               ยากจน ร่วมกับผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52