Page 38 - 0018
P. 38

30


                              4.2.2 วิเคราะห์ปัญหาความต้องการที่จำเป็นและนำไปสู่การออกแบบการพัฒนาทักษะอาชีพ

               ร่วมกัน พบว่า จากการจัดเวทีประชุมและวิเคราะห์ปัญหาความต้องจากผู้นำกลุ่ม ผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชน
               บ้านกลาง หมู่ที่ 5 โดยใช้เทคนิค การทำ SWOT ในการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุและผลของปัญหาและความต้องการ

               ในพื้นที่

                       จุดแข็ง
                        1. คนในชุมชนมี ความรู้ ภูมิปัญญา ทักษะในการทำขนมและอาหาร มีความรู้และทักษะในการปลูกผัก
               มีความรู้และทักษะในการทำนา มีความรู้เกี่ยวกับทักษะช่างก่อสร้าง มีความรู้ในการตัดเย็บผ้า มีความรู้เรื่องของ
               การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงห่าน มีความรู้และทักษะเล็กน้อยเกี่ยวกับการเลี้ยงนกกระทา
                        2. มีทุนธรรมชาติ ได้แก่ บางครอบครัวมีที่ดินทำกิน และบางส่วนมีการเก็บพันธุ์ข้าว (จือดานอ)

                                                     ื้
                        3. มีทุนทางสังคมได้แก่ความเอื้อเฟอเผื่อแผ่และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

                       จุดอ่อน

                        1. คนในชุมชนขาดความรู้ในการขายของออนไลน์ ขาดโรงเรือนในการทำอาหาร-ขนมพื้นบ้านและ
               อาหารที่ได้มาตรฐาน ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการทำขนมและอาหาร  ขาดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ขาด
               ความรู้ในการตัดเย็บแบบอื่น ๆ เช่น การตัดเย็บผ้าคลุมที่มีอัตลักษณ์เป็นของชุมชน  การทำเกษตรครัวเรือนยังไม่
               ครอบคลุม และขาดวามรู้ในเรื่องการเลี้ยงปลาน้ำจืด

                        2. ในเรื่องของการทำนา การทำนาปีมีน้ำท่วมในช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม  ทำนาไม่ได้เพราะมี
               น้ำเค็มรุกพื้นที่ พื้นที่นามีน้ำไม่เพียงพอ ขาดเครื่องมือทางการเกษตร (ทำนา - ฟื้นฟูนาร้าง) บางส่วนขาดการเก็บ
               พันธุ์ข้าว ขาดธนาคารข้าวที่ครบวงจร ขาดความรู้ในการยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับข้าว (อย. มผช. ฮาลาล)
                        3. ขาดการบริหารการจัดการกลุ่ม


                       โอกาส
                        1. ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ เกษตรอำเภอปะนาเระ พัฒนาการอำเภอปะนาเระ
               มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และสถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี

                        2. มีเกษตรอำเภอปะนาเระมาช่วยแจกเมล็ดพันธุ์ สอนทำปุ๋ยหมัก และไถนา (สนับสนุนได้เพียงบาง
               ครัวเรือน)
                        3. มีงบประมาณจากภาครัฐลงมาให้กับชุมชน เพื่อทำโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาหมู่บ้าน

               เศรษฐกิจพอเพียง

                       อุปสรรค
                        1. ชุมชนเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม
                        2. ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

                        3. ปัญหายาเสพติด (ใบกระท่อม)
                              จากการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการที่จำเป็นตามกลุ่มอาชีพ ทำให้แบ่งกลุ่มอาชีพออกเป็น 2

               กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาชีพเดิม และอาชีพใหม่ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการทั้งรายบุคคลและกลุ่มได้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43