Page 40 - 0018
P. 40

32


                     กลุ่มอาชีพ                     ปัญหา                             ความต้องการ

                    -  เลี้ยงนก     - ไข่นกกระทามีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ   - ความรู้และทักษะในการเลี้ยงนกกระทา
                        กระทา       - ในชุมชนไม่มีผู้เชี่ยวชาญ หรือปราชญ์ชาวบ้านใน
                                    ด้านการเลี้ยงนกกระทา

                                    ไม่มีเครือข่ายในการประกอบอาชีพการเลี้ยงนก
                                    กระทา
                                    - บริเวณชุมชนไม่มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบ
                                    อาชีพการเลี้ยงนกกระทา


                       จากตารางดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่า การวิเคราะห์ปัญหาความต้องการที่จำเป็นตามกลุ่มอาชีพ
                                                                                                         ั
                                                                                         ื่
               จะนำมาสู่การออกแบบการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยการจัดการฝึกอบรมให้กับประชาชนเพอส่งเสริมให้มีการพฒนา
               อาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นให้อยู่กันอย่างมีสุขภาวะ ซึ่งมีความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ภาครัฐ
               ภาคเอกชน ประชาสังคม ประชาชน และการเชื่อมโยงเครือข่ายภาควิชาการ ให้สอดคล้องตามความต้องการของ

               แต่ละกลุ่มอาชีพ โดยเน้นแนวคิด “ร่วมคิด” เป็นกระบวนการในการดำเนินงานบริการวิชาการด้านการพัฒนา
               ทักษะอาชีพ
                       ซึ่งการดำเนินงานการพฒนาอาชีพในแต่ละกลุ่มอาชีพการดำเนินงานจะแสดงให้เห็นตั้งแต่ ต้นน้ำ –
                                         ั
               กลางน้ำ - และปลายน้ำ ดังนี้
                              1) ประเมินความรู้และทักษะอาชีพก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ของแต่ละอาชีพ โดยใช้แบบวัดความรู้
               และทักษะ เพื่อใช้สำหรับการให้ความรู้และฝึกทักษะก่อนการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ


                              2) ดำเนินกิจกรรมตามแผนฯ ของแต่ละกิจกรรม เช่น (1) การประเมินพื้นที่สำหรับการดำเนิน
               กิจกรรม (2) ประเมินศักยภาพทุนชุมชนที่จะหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ระบบน้ำ การขอใช้พื้นที่

               รวมถึงความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่าย ฯลฯ  (3) การอบรมให้ความรู้และทักษะอาชีพจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ
               และ(4)การนำผลจากการอบรมมาปฏิบัติจริงตามแต่ละอาชีพ

                              3) ประเมินความรู้และทักษะอาชีพหลังเข้าร่วมโครงการฯ ของแต่ละอาชีพ โดยใช้แบบวัดความรู้

               และทักษะ เพื่อใช้สำหรับการให้ความรู้และฝึกทักษะหลังการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ และการปรับตัว
               เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ พร้อมมีการให้ความรู้และทักษะอาชีพเพิ่มเติม หากการพัฒนาการเรียนรู้และ

               ทักษะอาชีพยังไม่เพียงพอ

                      จะเห็นได้ว่า การเปิดโอกาสให้บุคคล ผู้แทนของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด

               ทิศทางในการพัฒนาชุมชน ร่วมตัดสินใจอนาคตของชุมชน ร่วมดำเนินกิจกรรมการพัฒนา และร่วมรับผลประโยชน์ที่
               เกิดขึ้น โดยการใช้เทคนิค กระบวนการมีส่วนร่วม (A-I-C) คือ A หมายถึง การสร้างความรู้จากการวิเคราะห์
               สถานการณ์ชุมชนและกำหนดอนาคตร่วมกัน  I หมายถึง การสร้างแนวทางการพัฒนา จากการค้นหาวิธีการและ
               คัดเลือกกิจกรรมในการพัฒนาอาชีพ และ C หมายถึง การสร้างแนวทางปฏิบัติ  จากการวิเคราะห์รายละเอียดการ
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45