Page 48 - 0018
P. 48

40


                       2. การดำเนินการตามแผน (Do) ปฏิบัติการตามแผน บูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานและภาคีเครือข่าย

                       3. การตรวจสอบและประเมิน (Check) เป็นขั้นตอนการติดตามการบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะ

               อาชีพ ตามแผนงานที่วางไว้อย่างเป็นระยะ ๆ รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของ
               โครงการและสรุปผลการประเมินโครงการ และทำการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินงาน


                       4. นำผลมาปรับปรุงการดำเนินงานที่เหมาะสม (Act) นำผลที่ได้ทบทวนการจัดโครงการ นำมาปรับแก้
               เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคการดำเนินการครั้งต่อไป กำหนดแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไปให้

               มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

                       จึงสรุปได้ว่า การดำเนินงานตามแนวคิด วงจรเดมิ่ง (Deming Cycle) : PDCA ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการ

               อธิบายกระบวนการการบริการวิชการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นการ
               ดำเนินงานที่เป็นระบบ และครบถ้วน  อีกทั้งยังบูรณการงานแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ชุมชนเองเกิดความตื่นตัว
               และเห็นถึงบทบาทของชุมชนและเครือข่ายในการช่วยยกระดับชุมชนเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งหันมาให้ความสำคัญและ

                                                                                                     ิ่
               ร่วมใจพัฒนาอาชีพที่ต่อเนื่องอันจะทำให้ เกิดความอยู่ดี กินดี และมีสุข อย่างยั่งยืน และชุมชนเกิดรายได้เพมและการ
               เปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่สอดคล้องกับหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียงไปในทางที่ดีขึ้น


                       5.3 แนวทางในการดำเนินงานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความ
               ยากจน และนำไปสู่การปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานที่วางไว  ้


                       จากผลของการวิเคราะห์ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ
               เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และนำไปสู่การปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานที่วางไว้ ดังนี้

               (1) ผู้ปฏิบัติงานควรวางแผนการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกับขอบเขตงาน ความรับผิดชอบหลักของหน่วยงาน
               (2) ในขั้นตอนการลงพื้นที่เพอปฏิบัติการหรือให้บริการ ควรสร้างบรรยากาศการยอมในชุมชน เพื่อการปฏิบัติที่ราบรื่น
                                      ื่
               และบรลุเป้าหมายที่วางไว้ (3) ผู้ให้บริการควรมีการตรียมพร้อมในด้านการสื่อสารในภาษาถิ่น หรือการใช้ความ

               พยายามในการสื่อสารเพื่อให้ผู้รับบริการไม่เกิดความอึดอัดใจ (4) ผู้ให้บริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ
               จำเป็นต้องมีเทคนิคในการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะอาชีพ (5) ควรคำนึงถึง ปัญหาและความต้องการของชุมชน

               เป็นพื้นฐาน (6) ผู้ให้บริการควรมีการส่งเสริมการจัดการกลุ่มให้กับผู้รับบริการ เพื่อให้ชุมชนเกิดการพึ่งพาสมาชิก
               กันเองได้ และ(7) ควรมีการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาครัฐ/เอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ เป็นกลไกการ

               ขับเคลื่อนงานที่สำคัญในทุก ๆ ด้านของชุมชน (8) ด้านการประสานงาน ควรให้ความสำคัญของการประสานงานตั้งแต่
               เริ่มต้นโครงการ โดยให้เกิดการประสานงานภายในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อกลไกการขับเคลื่อน

               งาน ปฏิบัติงานภายในพื้นที่ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

                        จะเห็นได้ว่า การกำหนดแนวทางในการดำเนินงานบริการวิชาการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ   เพื่อแก้ไข
               ปัญหาความยากจน มีความเชื่อมโยงกับขอบเขตงานความรับผิดชอบหลักของผู้ปฏิบัติงาน ในด้านการศึกษาและ

               พัฒนาการจัดทำโครงการประสานความความร่วมมือกับคณะ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
               ตลอดจนองค์กรเครือข่ายต่างๆ เพื่อทำความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน การนำองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52