Page 104 - 001
P. 104
93
ที่ทำด้วยเงิน เสื้อผ้าคุณภาพดีและเครื่องประดับต่างๆ ในขณะที่สินค้าส่งออกจะประกอบไปด้วย
งาช้าง หินอาเกต เสื้อผ้าไหม และพริกไทย ทั้งนี้ การพบเหรียญสมัยศาตวาหนะเป็นจำนวนมาก
ภายในเมืองภรุกัจฉะก็เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงกิจกรรมทางการค้าที่มีความรุ่งเรืองในยุค
สมัยนี้
5. การนับถือศาสนา กษัตริย์เกือบทุกพระองค์ในราชวงศ์ศาตวาหนะทรงนับถือศาสนา
พราหมณ์ ทรงฟื้นฟูระบบวรรณะและให้การดูแลนักบวชในศาสนาพราหมณ์เป็นอย่างดี อย่างไร
ก็ตามกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีพระทัยกว้างต่อทุกศาสนา ศาสนาพุทธในยุคอานธระนี้
ุ
ุ
จึงรุ่งเรืองขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน พทธศาสนิกชนได้ร่วมกันสร้างพทธสถานเป็นจำนวนมาก ดัง
ปรากฏหลักฐานให้เห็นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves) ถ้ำปัณฑาว์เลนี
(Pandavleni Caves) ที่นาสิก (Nasik) ถ้ำภาชา (Bhaja Caves) และที่นาคารชุณโกณฑะ
(Nagarjunakonda) เหล่านี้ล้วนเป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพทธที่อยู่ในแถบเดคข่าน –
ุ
อินเดียใต้ทั้งสิ้น
6. งานวรรณกรรม จากเสาพระเจ้าอโศกที่ประดิษฐานไว้ในแถบเดคข่าน แสดงให้เห็น
ว่าประชาชนในพนที่นี้คุ้นเคยกับตัวอักษรพราหมี (Brahmi) และภาษาปรากฤต (Prakrit) ทั้งนี้
ื้
กษัตริย์ในราชวงศ์ศาตวาหนะมีความสนพระทัยในภาษาปรากฤต ดังนั้น ภาษาปรากฤตจึง
รุ่งเรืองอย่างมาก เห็นได้จากงานวรรณกรรมที่มีความโดดเด่นในยุคนี้ซึ่งผลิตขึ้นภายใต้การ
อุปถัมภ์ของราชวงศ์ศาตวาหนะ เป็นต้นว่า พฤหัตกถา (Brihatkatha) ก็ประพนธ์ขึ้นโดยใช้
ั
ภาษาปรากฤต อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายราชวงศ์ได้มีการปฏิรูปศาสนาพรามหณ์ขึ้นเป็นศาสนา
ุ
ฮินดู ภาษาสันสกฤตจึงเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง แม้แต่คัมภีร์ในศาสนาพทธนิกายมหายานเช่น
งานของนาคารชุนผู้ก่อตั้งนิกาย“ศูนยวาท” ยังเขียนเป็นภาษาสันสกฤตทั้งหมด
7. ศิลปะและสถาปัตยกรรม งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่างๆ ในยุคนี้ล้วนได้รับ
แรงบันดาลใจมาจากศาสนา แม้ศาตวาหนะจะสนับสนุนศาสนาพราหมณ์ แต่พุทธสถานหลายที่
ก็ปรากฏขึ้นทางตอนใต้นี้ไม่ว่าจะเป็นสถูปที่เมืองอมราวดี ซึ่งเป็นสถูปอิฐที่เก่าแก่ที่สุดในภาคใต้
ของอินเดีย ไจติยะคฤหะ (Chaityagrihas) ในนาคารชุณโกณฑะทางฝั่งตะวันออก หรือถ้ำที่
เจาะเข้าไปในภูเขา (rock cut) ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกเช่น ถ้ำปัณฑาว์เลนี ที่นาสิก ถ้ำภาชา
เป็นต้น
อินเดียใต้ไกล (Far deep South India ; เขตทมิฬ Tamil)
การมาถึงของยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นของอินเดียใต้เริ่มต้นขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2-
30
10 หรือ 300 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 บางครั้งเรียกยุคนี้ว่า “สมัยสังคัม”
(Sangam period) เพราะเป็นการตั้งชื่อตามวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นคือ วรรณกรรม
สังคัม ในสมัยของพระเจ้าอโศกดินแดนส่วนใหญ่ในบริเวณใต้สุดของอินเดียนั้นประกอบไปด้วย
31
30 Upinder Singh. A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12 Century,
th
p. 384.
31 เป็นวรรณกรรมภาษาทมิฬที่เก่าแก่ที่สุด มีลักษณะเป็นโคลงกลอนที่แต่งขึ้นโดยกวีที่มีชื่อและกวีนิรนาม เนื้อหาส่วนใหญ่
เป็นการสรรเสริญกษัตริย์ การทำสงครามและการอุปถัมภ์