Page 109 - 001
P. 109
98
ในตำนานซึ่งเห็นได้จากจารึกและงานวรรณกรรมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 (คริสต์ศตวรรษที่
11-12) ที่มีการเขียนอ้างถึงพระองค์ แต่เสริมแต่งเรื่องราวจนเกินเลยความเป็นจริง เป็นต้นว่า
พระองค์ได้ชัยชนะเหนือทุกภาคส่วนของอินเดีย ไกลสุดจนถึงแถบหิมาลัย ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่เคย
บันทึกเอาไว้ในวรรณกรรมสังคัมเลย
ุ
ในช่วงระหว่างพทธศตวรรษที่ 10 – 13 (คริสต์ศตวรรษที่ 4-7) ซึ่งเป็นยุคหลัง
วรรณกรรมสังคัม เป็นช่วงเวลาที่แถบอินเดียใต้ไกลขาดแคลนข้อมูลต่างๆ เนื่องจากถูกพวก
กาลาภรัส (Kalabhras) เข้ายึดครองดินแดนต่างๆที่เคยเป็นของกษัตริย์ทมิฬเป็นเวลายาวนาน
42
ุ
กว่า 300 ปี จนกระทั่งในราวพทธศตวรรษที่ 13 (คริสต์ศตวรรษที่ 7) กษัตริย์ในราชวงศ์
ปาณฑยะและปัลลวะก็ได้ร่วมมือกันทำสงครามกับกลุ่มกาลาภรัสและสามารถแย่งชิงดินแดนที่
เคยเป็นของตนกลับคืนมาได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานี้ราชวงศ์โจฬะดูเหมือนจะหายไปจากหน้า
ประวัติศาสตร์ มีความเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจจะมีอำนาจอยู่ในพื้นที่เล็กๆที่เป็นเมืองหลวงเดิม
คือ อุไรยูร์ และวางตัวเป็นรัฐกันชนระหว่าง 2 อาณาจักรคือ ปาณฑยะและปัลลวะ
เมื่อเข้าสู่ในช่วงพทธศตวรรษที่ 15 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 9) ผู้นำของโจฬะนามว่า
ุ
วิชะยะลัย โจฬะ (Vijayalaya Chola) ได้เข้ายึดเมืองตันชาร์วู (Tanjavur) และได้ตั้งราชวงศ์ขึ้น
ใหม่ โอรสของพระองค์คือ พระเจ้าอาทิตยะ (Aditya: ค.ศ. 870-907) ได้ขยายอาณาเขตและ
ิ
สามารถมีชัยเหนืออาณาจักรปัลลวะทางตอนเหนือได้ และในไม่ช้าพระองค์ก็สามารถพชิต
ดินแดนที่เคยเป็นของอาณาจักรปาณฑยะและเฉระซึ่งอยู่ทางตอนใต้ไว้ได้เช่นเดียวกัน นับเป็น
การเริ่มต้นความรุ่งเรืองของโจฬะในช่วงที่ 2 หรือที่เรียกกันว่ายุคกลาง
อาณาจักรโจฬะภายใต้การปกครองของผู้นำใหม่ เริ่มทรงอำนาจขึ้นในสมัยพระเจ้า
สุนทรา โจฬะ (Sundara Chola: ค.ศ. 957-970) และมีอำนาจสูงสุดในสมัยพระเจ้าราชราชะ
(Rajaraja: ค.ศ. 985-1014) และพระเจ้าราเชนทร โจฬะที่ 1 (Rajendra Chola I: ค.ศ. 1012-
1044) ผู้เป็นโอรส ทั้งนี้ในรัชสมัยของพระเจ้าราชราชะพระองค์ได้แผ่ขยายอำนาจลงไปจนถึง
ลังกา โดยการส่งกองทัพไปยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะ ในขณะที่พระเจ้าราเชนทรได้ส่งกอง
เรือข้ามไปโจมตีอาณาจักรศรีวิชัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเหตุผลในเรื่องการขัดแย้งกัน
ทางการค้า เนื่องจากศรีวิชัยตั้งอยู่ในทำเลการค้าที่ดี คือ อยู่ระหว่างอินเดียและจีน แต่ศรีวิชัย
กลับทำการค้าแบบผูกขาด อย่างไรก็ดี พระองค์ไม่ได้ยึดครองอาณาจักรศรีวิชัยแต่ประการใด
แต่จากเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมของศรีวิชัยในเวลาต่อมา
42 ชาวกาลาภรัสอาจเป็นกลุ่มที่มาจากบริเวณทางตอนใต้ของแถบเดคข่าน พวกเขาไม่ใช่กลุ่มที่พูดภาษาทมิฬ มีความเป็นไป
ได้ว่าดินแดนของพวกเขาอาจจะเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของราชวงศศาตวาหนะ เมื่อราชวงศนี้หมดอำนาจลง ดินแดนต่างๆก็แยกตัว
์
์
ี
์
ออกเป็นอิสระ กลุ่มของกาลาภรัสก็เช่นเดยวกัน ได้แยกตัวออกมาและตั้งองคกรการปกครองของตนเองขึ้น และได้เริ่มรุกรานพื้นที่ของ
ชาวทมิฬ อาณาจักรต่างๆในดินแดนใต้ไกลไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้าผู้รุกรานจากต่างแดน จึงสูญเสยอำนาจให้กับกลุ่มกาลาภรัส
ี
อย่างไรก็ดี ข้อมูลเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้รวมไปถึงรายชื่อกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองอินเดียใต้ไกลหาได้ยากยิ่ง เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ทิ้ง
หลักฐานใดๆไว้เลยไม่ว่าจะเป็นโบราณวัตถุหรือโบราณสถาน มีเพียงข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ตามวรรณกรรมของพุทธ เชนและสังคม
ั
่
ราชวงศกาลาภรัสถูกโคนล้มลงจากการร่วมมือกันของกลุ่มปัลลวะ ปาณฑยะและจาลุกยะ พาทามิในราวพุทธศตวรรษที่ 13
์
(คริสต์ศตวรรษที่ 7)