Page 103 - 001
P. 103
92
การปกครองของราชวงศ์ศาตวาหนะเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย การสืบต่อราช
ึ
บัลลังก์เป็นการสืบสันตติวงศ์ทางสายเลือด พระมหากษัตริย์ไม่ได้พงพอใจกับตำแหน่งราชา
เท่านั้น แต่พวกเขายกย่องตนเองในฐานะจอมราชา (King of Kings) ผู้ซึ่งปกป้องบ้านเมืองดูแล
ทั้งในด้านสังคมและบังคับบัญชาทางด้านการเมือง
28
ทางด้านการบริหาร อาณาจักรจะถูกแบ่งการปกครองเป็นแคว้นหรือราชฏระ
(Rashtras) แต่ละแคว้นจะประกอบไปด้วยหมู่บ้านหรือครมะ (gramas) แต่ละครมะจะต้องมี
เมืองศูนย์กลางที่เรียกว่านิคม (nigamas) อย่างน้อย 1 เมือง โดยนิคมนี้ถือเป็นหน่วยเขตการ
ปกครองที่เล็กที่สุด ตำแหน่งอำมาตย์จะเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองที่ปกครองแคว้นเหล่านี้ อย่างไรก็
ดี ตำแหน่งที่สูงกว่าอำมาตย์คือ มหารฐิ (maharathis) และมหาโภชะ (mahabhojas) จะเป็น
ผู้บังคับบัญชาอำมาตย์อีกต่อหนึ่ง และจากหลักฐานประเภทจารึก ยังปรากฏชื่อตำแหน่ง
เจ้าหน้าที่รัฐไว้อีกหลายตำแหน่ง อาทิ มหัสสนาปาติ (mahassnapati) เหรานิก (heranika)
ภัณฑาคาริก (bhandagarika) มหามาตย์ (mahamatra) เลขากะ (lekhaka) และนิพันธาการะ
(nibandhakaras)
3. สภาพสังคม ในช่วงเวลานี้ระบบวรรณะยังคงความเข้มข้นในสังคม ผู้คนจะได้รับการ
เรียกขาน ตามชื่ออาชีพของพวกเขา เช่น หาลิกะ (เกษตรกร) เศรษฐี (พอค้า) โกลิกะ (ช่างทอ
่
ผ้า) และคาธิกะ (ผู้ปรุงยา) อย่างไรก็ดี นอกจากชาวอารยันที่นับถือศาสนาพราหมณ์แล้ว ใน
สังคมยังปรากฏชนพื้นเมืองซึ่งมีวิถีชีวิตและความคิดที่ต่างจากชาวอารยันอยู่ไม่น้อย
4. สภาพเศรษฐกิจ เกษตรกรรมยังคงเป็นอาชีพหลักของประชาชน อีกทั้งยังคง
ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของภาครัฐ ศาตวาหนะถือเป็นอาณาจักรที่อุดมไปด้วยผลผลิตทาง
การเกษตร ทั้งนี้ รัฐจะเรียกเก็บผลผลิตดังกล่าวเป็นจำนวน 1 ต่อ 6 ส่วน ในขณะที่เกลือถือเป็น
สินค้าผูกขาดของรัฐเท่านั้น
นอกจากการเพาะปลูกแล้ว งานอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ก็มีความสำคัญในเชิง
เศรษฐกิจ จากจารึกทำให้ทราบถึงอาชีพช่างฝีมือต่างๆในสังคม อาทิ กุลาริกะ(kularika : ช่าง
ปั้นหม้อ) วสาการะ (vasakara : ช่างทอเสื่อ) และไอจามารา (lcamara : ช่างเหล็ก) ช่างฝีมือ
เหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในสมาคมอาชีพของตนเอง ซึ่งสมาคมจะมีหน้าที่ต่างๆเพออำนวยความ
ื่
สะดวกให้แก่สมาชิก เช่น การให้กู้ยืมเงิน เป็นต้น
การค้าทั้งภายในประเทศและบริเวณเมืองท่าต่างๆก็มีความโดดเด่นในช่วงเวลานี้ เมือง
ต่างๆที่อยู่ภายใน (inland) อาณาจักร เช่น ไปถาน (Paithan) ตาคาระ (Tagara) นาสิก (Nasik)
วิชัยปุระ (Vijayapura) และวินุกอนทา (Vinukonda) ต่างได้ชื่อว่าเป็นตลาดการค้าที่สำคัญ
การติดต่อกันระหว่างเมืองต่างๆใช้ถนนเป็นเส้นทางหลัก ในขณะที่บางเมืองเช่น ภรุกัจฉะ
29
(Barukachcha) ได้รับการกล่าวถึงในบันทึกการเดินเรือของชาวยุโรป (The Periplus of the
Erythrean Sea) ว่าเป็นศูนย์กลางการค้ากับต่างประเทศที่ยอดเยี่ยม เมืองนี้นำเข้าไวน์ ภาชนะ
28 Durga Prasad. History of the Andhras upto 1565 A.D., p. 41.
29 บันทึกการเดินเรือของชาวยุโรป (The Periplus of the Erythrean Sea) เขียนขึ้นโดยพ่อคาชาวกรีกลูกครึ่งอียิปต์ที่
้
ื
เดินเรือเข้ามาคาขายทางซีกโลกตะวันออกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 (ต้นพุทธศตวรรษที่ 7) จัดเป็นหนังสือคู่มือการเดินเรอเข้ามา
้
ค้าขายยังซีกโลกตะวันออกฉบับแรกของโลก ดูเพิ่มเติม ผาสุข อินทราวุธ. สุวรรณภูมิจากหลักฐานทางโบราณคดี, หน้า 21.