Page 100 - 001
P. 100
89
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นว่า แหล่งโบราณคดีตวงถา
แมน (Taungthaman) ในประเทศพม่า แหล่งโบราณคดีดอนตาเพชร บริเวณภาคกลางของ
ประเทศไทย แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แหล่ง
โบราณคดีเขาสามแก้ว ภาคใต้ของประเทศไทย แหล่งโบราณคดีบ้านโซด ประเทศลาว แหล่ง
โบราณคดีไดลาญในวัฒนธรรมซาหุญ ประเทศเวียดนาม และกลุ่มถ้ำตาบอนบนเกาะปาลาวัน
22
ประเทศฟิลิปปินส์
่
การติดต่อกันทางบกนั้นพอค้าชาวอินเดียสามารถเดินทางผ่านแคว้นเบงกอลตะวันตก
ผ่านอัสสัม มณีปุระ แล้วผ่านพม่าเข้าไปยังกลุ่มประเทศทางตะวันออกไกลได้ การติดต่อกันทาง
บกคงจะมีมานานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาแล้ว ส่วนการติดต่อค้าขายกันทางเรือ สินค้า
ต่างๆจะผ่านเส้นทางหลวงเข้ามาสู่เมืองปาฏลีบุตร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร แล้วจึงส่งไป
เมืองท่าปากแม่น้ำคงคาคือเมืองตามรลิปติ (ตัมลุก) จากเมืองตามรลิปติเรือสามารถแล่นข้าม
อ่าวเบงกอลมาขึ้นบกที่ทะวายผ่านด่านเจดีย์ 3 องค์ เข้าไปในเขตจังหวัดกาญจนบุรีหรือไปตาม
ลำน้ำแม่กลองไปลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากเมืองตามรลิปติแล้ว ยังมีเมืองท่าอีกหลายเมืองที่
รุ่งเรืองขึ้นจากการค้าขายระหว่างอินเดียกับโลกตะวันตกและโลกตะวันออก เมืองท่าทางฝั่ง
ตะวันตกที่สำคัญมีเมืองศูรปารกะ (โสปะระ) ภรุกัจฉะ (หรือบาริกาซา) จากเมืองท่าดังกล่าว
สามารถแล่นเรือเข้ามาระหว่างหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ไปขึ้นบกที่ตะกั่วป่าหรือตรัง (รวม
คลองท่อม จังหวัดกระบี่) แล้วข้ามไปยังฝั่งตะวันออกได้หลายเส้นทาง (หรือจากไทรบุรีไป
23
สงขลา) หรือแล่นผ่านช่องแคบมะละกาและซุนดาไปยังอ่าวไทย
ราชวงศ์ศุงคะ (Sunga Dynasty)
เมื่อ 184 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าพฤหัทรถกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะถูกนายพลปุษย
มิตรศุงคะผู้บังคับบัญชาการกองทัพของพระองค์ปลงพระชนม์ ปุษยมิตรได้ยึดบัลลังก์แล้ว
ี
สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ปกครองปาฏลบุตรต่อไป เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์โมริยะที่ยิ่งใหญ่และ
เริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยราชวงศ์ศุงคะต่อมา หลังจากที่ปุษยมิตรมีอำนาจได้ไม่นาน พระองค์ได้
ทรงพยายามรวบรวมแว่นแคว้นที่แตกแยกกระจัดกระจายให้กลับมารวมกันอีกครั้ง อย่างไรก็ดี
อาณาจักรของศุงคะก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่เทียบเท่าโมริยะ แว่นแคว้นที่อยู่ภายใต้การปกครองของศุงคะ
เป็นการรวมตัวกันหลวมๆ ไม่ได้ปกครองเป็นจักรวรรดิใหญ่และโยงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางแบบ
ราชวงศ์โมริยะ บริเวณที่อยู่ศูนย์กลางและใกล้ศูนย์กลางกษัตริย์อาจปกครองโดยตรง แต่พื้นที่ที่
อยู่ไกลออกไปจะมีลักษณะเป็นประเทศราช บางรัฐมีอำนาจปกครองตนเองมากพอที่จะออก
เหรียญกษาปณ์ไว้ใช้เอง ราชวงศ์ศุงคะจึงไม่ได้ครอบครองดินแดนกว้างใหญ่ทั้งหมด การ
แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยในบริเวณภาคเหนือของอินเดียนี้เอง เปิดโอกาสให้ชนเผ่า
ต่างๆจากภายนอกเข้ามารุกรานและปกครองดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
ได้เป็นผลสำเร็จ
22 ผาสุข อินทราวุธ. สุวรรณภูมิจากหลักฐานทางโบราณคดี, หน้า 51.
23 เรื่องเดิม, หน้า 47.