Page 107 - 001
P. 107
96
และมุฉิริ (Muchiri) จึงสามารถทำการค้ากับต่างชาติทั้งโรมันและกลุ่มประเทศในตะวันออก
กลางได้อย่างสะดวก ดังหลักฐานที่ปรากฏในข้อเขียนของหนังสือบันทึกการเดินเรือของชาว
ยุโรป (The Periplus of the Erythrean Sea) ได้กล่าวถึงอาณ าจักรเชโรโบตระ
(Cerobothra) หรือ เฉระปุตรา (Cheraputra) ว่า เมืองท่าของอาณาจักรแห่งนี้ (คือมุฉิริ) เต็ม
ไปด้วยเรือขนาดใหญ่ของโรมัน อาหรับและกรีก โดยเป็นสถานที่ ส่งออกเครื่องเทศ พริกไทย
36
งาช้าง ไม้ ไข่มุก และอัญมณี จากงานเขียนที่ปรากฏในอกานานุรุ (Akananuru) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม
วรรณกรรมสังคัมได้บรรยายกิจกรรมทางการค้าที่เกิดขึ้นในเมืองท่าแห่งนี้ว่า “เป็นสถานที่ที่
37
โรมันนำเหรียญทองมาเป็นจำนวนมากเพื่อซื้อพริกไทยกลับไป”
นอกจากเรื่องราวที่มีความโดดเด่นทางด้านการค้าแล้ว ประวัติศาสตร์ทางการเมืองของ
อาณาจักรเฉระก็มักเกี่ยวพันกับการทำสงครามและการเชิดชูวีรบุรุษสงครามอยู่ตลอดเวลา เมื่อ
ราชวงศ์จาลุกยะแห่งพาทามิ (Chalukyas of Badami) ได้สถาปนาขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12
หรือคริสต์ศตวรรษที่ 6 และได้เริ่มรุกรานอาณาจักรต่างๆในอินเดียใต้ จารึกที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิม
ฉลองพระเกียรติของกษัตริย์ในราชวงศ์จาลุกยะ เช่นพระเจ้าปุลเกศินที่ 2 (Pulakeshin II : ค.ศ.
610-642) ได้กล่าวอ้างว่าพระองค์มีชัยเหนืออาณาจักรเฉระ โจฬะ และปาณฑยะ จนทำให้ทั้ง 3
ั
อาณาจักรต้องร่วมมือเป็นพนธมิตรกันเพื่อต่อสู้กับจาลุกยะ อาณาจักรเฉระค่อยๆเสื่อมลงจาก
ุ
การทำสงครามระหว่างอาณาจักร จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่พทธศตวรรษที่ 15 (คริสต์ศตวรรษที่ 9)
อำนาจก็ตกอยู่ในมือของกลุ่มพราหมณ์ กษัตริย์กลายเป็นผู้ปกครองเพียงในนามเท่านั้น ในช่วง
พุทธศตวรรษที่ 17-18 (คริสต์ศตวรรษที่ 11-12) โจฬะจึงได้เข้าโจมตีเฉระและได้ เผาเมืองและ
สังหารกษัตริย์ อาณาจักรเฉระจึงล่มสลายลงในที่สุด
2. อาณาจักรปาณฑยะ (Pandya) เป็นอาณาจักร 1 ในสามของอาณาจักรที่สำคัญทาง
ุ
ภาคใต้ในยุคพทธกาล มีเมืองหลวงอยู่ที่มาฑไร (Madurai) และมีเมืองท่าที่สำคัญคือกอร์ไก
ุ
(Korkai) ปรากฏชื่อปาณฑยะครั้งแรกในงานของกัตยายานะ (Katyayana) นักไวยากรณ์ที่มีชีวิต
ุ
อยู่ในราว 400 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรปาณฑยะดำรงอยู่จนกระทั่งถึงช่วงพทธศตวรรษที่
20 (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15) จึงล่มสลายลง
อาณาจักรปาณฑยะเป็นที่รู้จักทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค ในจารึกของเสาพระเจ้า
อโศกที่โปรดให้ไปตั้งอยู่ตามเมืองต่างๆ ได้เอ่ยถึงประชาชนในอินเดียใต้ว่าประกอบไปด้วยชาว
โจฬะ ชาวเฉระ ชาวปาณฑยะและชาวสัตยะปุตระ ในขณะที่บันทึกของชาวต่างชาติได้กล่าวถึง
อาณาจักรปาณฑยะไว้ตั้งแต่งานของเมกาเทเนส (300 ปีก่อนคริสตกาล) และเนื่องด้วย
ปาณฑยะเป็นอาณาจักรที่มีเมืองท่าจึงทำการค้าขายกับต่างประเทศ เรื่องราวของอาณาจักรจึง
ถูกบันทึกไว้ในงานเขียนของชาวต่างชาติด้วยเช่นเดียวกัน ได้แก่ บันทึกการเดินเรือของชาวยุโรป
36 Hermann Kulke and Dietmar Rothermund. (2004). A History of India. New York: Routledge, pp. 106-
107.
37 Raoul Mclaughlin. (2010). Rome and the Distant East Trade Routes to the Ancient Lands of Arabia,
India and China. London: Continuum, pp. 49.