Page 101 - 001
P. 101

90


                          ตามหลักฐานในจารึกธนเทพแห่งเมืองอโยธยาได้กล่าวว่าพระเจ้าปุษยมิตรได้รื้อฟนการ
                                                                                                 ื้
                       ิ
                   ทำพธีกรรมตามแบบพระเวทโบราณ รวมทั้งพธีอัศวเมธขึ้นมาใหม่ เนื่องจากพระองค์นับถือ
                                                             ิ
                   ศาสนาพราหมณ์ ตามคัมภีร์ทิวยาวทาน  ได้พรรณนาถึงพระเจ้าปุษยมิตรว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อ
                                                       24
                   พระพทธศาสนา มีการขับไล่พระภิกษุ ทำร้ายคณะสงฆ์และทำลายวัดวาอารามของ
                         ุ
                   พระพุทธศาสนา และตั้งรางวัลให้ผู้ที่ตัดศีรษะพระภิกษุตั้งแต่ 1 ศีรษะขึ้นไปรูปละ 100 ทินาร์
                                                                                                    25
                          อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์บางท่านได้ปฏิเสธเรื่องความเป็นไปได้ที่พระเจ้าปุษย

                                          ุ
                   มิตรเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพทธศาสนา โดยระบุว่าข้อความที่ปรากฏในทิวยาวทานล้วนแต่กล่าว
                                                              ี
                   เกินความจริง โดยจริงๆแล้วพระเจ้าปุษยมิตรเพยงแค่ล้มล้างราชวงศ์โมริยะที่ส่งเสริมศาสนา
                                                                       ี
                   พทธและได้ลดอิทธิพลของศาสนาพทธในราชสำนักลงเพยงเท่านั้น นอกจากนี้หลักฐานทาง
                    ุ
                                                    ุ
                   โบราณคดีหลายชิ้นได้ปรากฏให้เห็นว่าพระพทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์ศุงคะ
                                                            ุ
                   ดังเช่น สถูปแห่งสาญจีที่ได้รับการบูรณะและก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยนี้
                          พระเจ้าปุษยมิตรทรงสิ้นพระชนม์ในราว 148 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากที่ทรงปกครอง
                   ราชวงศ์ศุงคะมา 36 ปี ทายาทของพระองค์ได้สืบราชบัลลังก์ต่อมาจนถึงพระเจ้าเทวภูมิหรือเทว
                   ภูติก็ได้ถูกพราหมณ์อำมาตย์ชื่อวสุเทพ กัณวะ (vasudeva kanva) ลอบปลงพระชนม์ เป็นอัน

                   สิ้นสุดราชวงศ์ศุงคะในปี 72 ก่อนคริสตกาล และเริ่มราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์กัณวะ (Kanva)
                   ปกครองต่อไป แม้จักรวรรดิในราชวงศ์ศุงคะจะมีอาณาเขตเพยงครึ่งหนึ่งของพระเจ้าอโศก แต่
                                                                         ี
                   ราชวงศ์นี้ก็ได้ประกอบกิจที่ยิ่งใหญ่ให้แก่อินเดีย นั่นคือการป้องกันการรุกรานจากพวกฮูหรือฮั่น
                   ซึ่งเป็นชนต่างชาติ อีกทั้งยังสนับสนุนและส่งเสริมวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ซึ่งจะพฒนา
                                                                                                  ั
                   อย่างเต็มที่ในยุคคุปตะสมัยต่อๆมา


                   ราชวงศ์กัณวะ (Kanva Dynasty)

                          ภายหลังจากที่ราชวงศ์ศุงคะล้มสลายลงจากการที่พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายถูกลอบ
                   ปลงพระชนม์ พนที่ของแคว้นมคธในอินเดียภาคกลางก็ถูกราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์กัณวะเข้า
                                  ื้
                   ครอบครอง ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นี้คือ พระเจ้าวสุเทพ (Vasudeva) อย่างไรก็ดี ราชวงศ์กัณ

                                         ี
                   วะมีกษัตริย์ปกครองเพยง 4 พระองค์ และมีสมัยปกครองรวมทั้งสิ้นเพยง 45 ปีเท่านั้น
                                                                                       ี
                   ประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ไม่เด่นชัดและไม่มีหลักฐานแน่นอน พระเจ้าสุศรมัน (Susarman) เป็น
                   กษัตริย์องค์สุดท้าย หลังจากนั้นจึงถูกกองทัพของพวกอานธระที่ยกขึ้นมาจากอินเดียใต้บุกเข้า
                   ยึด แคว้นมคธจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกอานธระในราวปี 26 ก่อนคริสตกาล








                          24  ทิวยาวทานเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต เชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมและประพันธ์ขึ้นครงแรกโดยพุทธ
                                                                                          ั้
                   ศาสนานิกายสรวาสติวาทในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 หรือราวพุทธศตวรรษที่ 8 เนื้อหาจะมุ่งเน้นแสดงถึงหลักความเชื่อและหลัก
                   ปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยหลักความเชื่อจะเน้นสอนในเรื่องของพระพุทธเจ้าและเรองกรรม ในขณะที่หลักปฏิบัติจะมุ่งเน้นให้ปฏิบัติ
                                                                        ื่
                   ตามหลักกุศลกรรมบถ 10 ประการ โดยให้มีเมตตากรุณาเกื้อกูลต่อผู้อื่น
                          25  Four Authors. (1971). A Simple History of India. Delhi: Nai Sarak, p. 316.
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106