Page 102 - 001
P. 102

91


                   ราชวงศ์ศาตวาหนะ (Satavahana Dynasty)

                          ราชวงศ์ศาตวาหนะเป็นราชวงศ์ที่อยู่ในแถบเดคข่านหรืออินเดียทางตอนใต้ แต่เดิม
                   บรรพบุรุษของกษัตริย์ราชวงศ์นี้อาศัยอยู่ในแถบบริเวณลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวรี ต่อมาได้ยึด
                   เมืองอานธระได้ ดังนั้น จึงมีการเรียกชื่อราชวงศ์นี้ตามชื่อเมืองอีกชื่อว่าราชวงศ์อานธระ เมือง

                   อานธระเคยยอมรับอำนาจของพระเจ้าอโศกในสมัยราชวงศ์โมริยะ แต่หลังจากที่พระเจ้าอโศก
                   สิ้นพระชนม์ก็แยกตัวออกมาเป็นอิสระ ในคัมภีร์ปุราณะได้กล่าวว่าปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์นี้คือ

                   พระเจ้าศรีมุข (Srimukha) หรือศรีสุข (Srisukha) ก่อตั้งราชวงศ์ขึ้นในราวปี 230 ก่อน
                   คริสตกาล หรือราวพุทธศตวรรษที่ 4 มีกษัตริย์รวมทั้งสิ้น 30 องค์ ปกครองบ้านเมืองอยู่ 460 ปี
                                          ู้
                   มีข้อสันนิษฐานว่ากษัตริย์ผที่ทำการสังหารพระเจ้าสุศรมันและโค่นล้มราชวงศ์กัณวะคือ พระเจ้า
                                                                           26
                   ปุฬมาวิ (Pulomavi) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 15 ในวงศ์ศาตวาหนะ


                   สภาพทั่วไปภายใต้การปกครองของราชวงศ์ศาตวาหนะ
                          1.  ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์อานธระและราชวงศ์กษัตรปะตะวันตก (Western
                   Kshatrapa) สิ่งที่โดดเด่นระหว่างการขึ้นมามีอำนาจของราชวงศ์อานธระที่ปกครองพื้นที่ในแถบ

                   เดคข่านกว่า 400 ปีและต่อมาได้ครอบครองแคว้นมคธคือ ความสัมพันธ์กับอาณาจักรเพื่อนบ้าน
                                           27
                   อันได้แก่ พวก ศกะ (sakas) แห่งราชวงศ์กษัตรปะตะวันตกซึ่งปกครองอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตก
                   และภาคกลางบางส่วนของอินเดีย ได้แก่ แถบเสาราษฏระ(Saurashtra) และมัลวะ (Malwa)
                   ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรัฐคุชราต (Gujarat) มหาราษฏร์ (Maharashtra) ราชสถาน (Rajasthan)
                   และมัธยะ ประเทศ (Madhya Pradesh)

                          พวกศกะกลุ่มนี้ได้เข้ามายึดครองดินแดนทางภาคตะวันตกของอินเดีย ดำรงอยู่ร่วมสมัย
                   กับราชวงศ์กุษาณะที่อยู่ทางอินเดียเหนือ (ดังจะกล่าวถึงในบทต่อไป) และศาตวาหนะที่อยู่ใน

                   อินเดียแถบเดคข่าน ราชวงศ์กษัตรปะตะวันตกล่มสลายลงไปโดยฝีมือของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่
                   2 แห่งราชวงศ์คุปตะในราวพุทธศตวรรษที่ 10 (คริสต์ศตวรรษที่ 4)
                                   ั
                          ความสัมพนธ์ระหว่างพวกอานธระและศกะจึงอยู่ในรูปของการทำสงครามเพอแย่งชิง
                                                                                               ื่
                   ดินแดนกันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยพระเจ้ารุทรวรมันแห่งศกะที่สามารถมีชัย
                   เหนือศาตวาหนะและแย่งชิงดินแดนบางส่วนไปครอบครองได้

                          2.  การบริหารจัดการ การอยู่ภายใต้ร่มของราชวงศ์โมริยะมานาน ทำให้ศาตวาหนะ
                   ได้รับอิทธิพลและแนวความคิดในเรื่องระบบบริหารจัดการบ้านเมืองมาพอสมควร โดยเฉพาะ
                   แนวความคิดในเรื่องของจักรวรรดิ แม้ในความเป็นจริงอาณาเขตของอาณาจักรศาตวาหนะจะ

                   ไม่ได้กว้างใหญ่เหมือนโมริยะ อีกทั้งยังผันแปรไปตามความมั่นคงทางการเมืองของผู้ปกครองก็
                   ตาม






                          26  Durga Prasad. (1988). History of the Andhras upto 1565 A.D. Don Bosco Technical School Press, p. 20.
                                                           ่
                          27  ศกะเป็นคำที่ใช้เรียกพวกซิเถียน ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผาเร่ร่อนในเอเชียกลาง พวกเขาถูกพวกยูห์ชิห์ (Yueh chih) ซงเป็นชาว
                                                                                                ึ่
                   ซเถียนอีกกลุ่มหนึ่งเข้ามาขับไล่ พวกศกะกลุ่มหนึ่งจึงได้อพยพเข้าไปยึดครองดินแดนทางภาคตะวันตกของอินเดีย ถือเป็นชน
                    ิ
                   ชาวต่างชาติที่เข้ามายึดครองดินแดนบางส่วนของอินเดยในขณะนั้น
                                                     ี
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107