Page 99 - 001
P. 99

88


                   อย่างดี บทบาททางการค้ากับต่างชาติเริ่มเด่นชัดขึ้นในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ ปฐมกษัตริย์แห่ง

                   ราชวงศ์โมริยะ การที่แว่นแคว้นต่างๆจำนวนมากถูกผนวกภายใต้จักรวรรดิเดียวกัน ส่งผลให้
                   การค้าทั้งภายในจักรวรรดิและการค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น ทั้งนี้ พระเจ้าจันทรคุปต์
                   ได้สร้างฐานเศรษฐกิจของประเทศโดยเน้นการค้าขายที่ติดต่อกับต่างชาติทั้งกลุ่มประเทศทาง

                   ตะวันตก (มีเมืองตักษิลาและเมืองอุชเชนเป็นศูนย์กลาง) และกลุ่มประเทศทางตะวันออก (มี
                   เมืองปาฏลีบุตรเป็นศูนย์กลาง) โปรดให้สร้างเมืองท่าสำคัญบริเวณปากแม่น้ำคงคา คือ เมือง

                   ตามรลิปติ เพื่อติดต่อค้าขายกับกลุ่มประเทศทางตะวันออก ที่สำคัญคือ การสร้างเส้นทางการค้า
                   ภายในจักรวรรดิจำนวนหลายเส้นทาง รวมทั้งให้มีการดูแลพ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายให้ปลอดภัย
                   จากโจรผู้ร้ายด้วย ยกตัวอย่างเส้นทางหลวงสายสำคัญ คือ เส้นทางติดต่อระหว่างเมืองปาฏลี

                   บุตร (เมืองหลวง) กับเมืองตักษิลา (เมืองอุปราช) และต่อไปจนถึงเมืองกปิศะในอัฟกานิสถาน
                   ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางการค้าของกษัตริย์กรีกราชวงศ์เซเลอเซีย (Seleucia

                   dynasty) ที่แบค เตรียได้ จากแบคเตรียนี้เองที่เชื่อมต่อกับเส้นทางการค้ากับโลกตะวันตก ทำ
                                ื้
                   ให้สินค้าจากพนที่ดังกล่าว (กลุ่มประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน) เป็นต้นว่า ลูกปัดแก้วหลายสี
                   แบบมีแถบสี (striped bead) และลูกปัดมีตา (eye bead) ถูกส่งมาขายยังอินเดีย และส่งต่อไป

                   ยังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านไปยังเมืองท่าฝั่งตะวันออก เช่น เมืองตามรลิปติ ซึ่ง
                                                                         21
                   จะแล่นเรือเลียบชายฝั่งมาขึ้นบกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
                          การขยายตัวทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดการรวมตัวของผู้คนที่มีอาชีพเดียวกัน เช่น สมาคม
                                                                                                 ่
                                                      ื่
                   ช่างฝีมือที่เรียกว่า “เศรณี” (Sreni) เพอจัดการด้านธุรกิจการค้าร่วมกัน หรือสมาคมพอค้าที่
                   เรียกว่า “เศรษฐี” (Setthi) ทำหน้าที่ในการรับฝากเงิน หรือเป็นธนาคารให้กู้เงิน สมาชิกสมาคม
                                                                                     ่
                   พ่อค้าได้รับเสรีภาพจากรัฐ และได้รับการเคารพยกย่องจากสังคม สมาคมพอค้ามีกฎหมายและ
                   ระเบียบข้อบังคับของตนเอง แม้รัฐบาลก็ยังให้ความเคารพกฎหมายของสมาคมพอค้าด้วย
                                                                                              ่
                            ่
                   สมาคมพอค้าส่งเสริมการศึกษาทั้งด้านอาชีพเฉพาะและอาชีพทั่วไป ด้วยเหตุนี้การค้าจึง
                   เจริญรุ่งเรืองมาก


                          การค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                          อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อค้าขายกันมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยเหล็ก

                   ตอนปลาย หรือในสมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ (350-50 ปีก่อน ค.ศ. หรือราวพุทธศตวรรษที่ 3-5)
                   ดังปรากฏชื่อเรียกดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมหากาพย์รามายณะ (บันทึกเรื่องราว
                   ช่วง 300 ปีก่อน ค.ศ. และต่อเติมใน ค.ศ. 200) ในชื่อว่า “สุวรรณทวีป” หมายถึงคาบสมุทร

                   ทองคำ หรือ “สุวรรณภูมิ” ซึ่งหมายถึงดินแดนแห่งทอง
                          หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงร่องรอยการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาว

                   อินเดียและประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มปรากฏขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอน
                   ปลายหรือยุคโลหะ เนื่องจากได้พบลูกปัดหินประเภทคาร์เนเลียน หินโอนิกซ์และหินอาเกตและ
                   ลูกปัดแก้วสีต่างๆ ซึ่งมีแหล่งผลิตอยู่ในประเทศอินเดีย แต่มาแพร่กระจายอยู่ในแหล่งโบราณคดี




                          21  ผาสุข อินทราวุธ. สุวรรณภูมิจากหลักฐานทางโบราณคดี, หน้า 34-35.
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104