Page 91 - 2564
P. 91

5.2 ความผูกพันของบุคลากร


               5.2ก การประเมินความผูกพันของบุคลากร
               5.2ก(1) ปัจจัยขับเคลื่อนความผูกพัน คณะกรรมการ HRM ได้สำรวจปัจจัยส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร

               แบบออนไลน์ทุก 2 ปี ในการขับเคลื่อนและเสริมสร้างความผูกพัน โดยในปี พ.ศ. 2564 สำนักฯ ใช้ข้อมูลเดิม
               ในปี พ.ศ. 2563 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพัน จำนวน 4 ปัจจัยตามลำดับ ดังนี้ 1) ความชัดเจนในหน้าที่และ

               อำนาจตามความรับผิดชอบ (4.15) 2) งานที่ท้าทาย (4.13) 3) ความมั่นคงในการทำงาน (4.08) และ 4)

               ความก้าวหน้าในงาน (3.71) ซึ่งคณะกรรมการ HRM นำผลการประเมินดังกล่าวมาปรับปรุงและออกแบบการ
               ดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรตามประเภทกลุ่มบุคลากร โดยนำปัจจัยที่ส่งผลต่อความ

               ผูกพันมาเป็นประเด็นในการขับเคลื่อนสร้างความผูกพันและจัดทำแผนพัฒนาความผูกพันของบุคลากร มีการ

               กำหนดแนวทาง ขั้นตอนการดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ และตัวชี้วัด โดยในปี พ.ศ. 2564 ได้ดำเนินการขับเคลื่อน
               ในเรื่องความก้าวหน้าในงานของบุคลากร ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมอบรมการทำผลงาน จัด KM ให้ความรู้

               เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการขอตำแหน่งที่สูงขึ้น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเส้นทางการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
               (ระบบพัฒนาบุคลากรสำนักวิทยบริการ HRM) และมีเวทีแสดงผลงานนวัตกรรมของบุคลากรที่สำนักฯ ชื่อ

               “โชว์ กึ๋น ไอเดียเจ๋ง” เพื่อเป็นการขับเคลื่อนในการสร้างผลงาน ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2564 บุคลากรมีผลงาน

               วิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ จำนวน 15 ผลงาน และได้รับรางวัล จำนวน 11 ผลงาน
               5.2ก(2) การประเมินความผูกพัน สำนักฯ กำหนดให้มีการสำรวจและประเมินความผูกพันของบุคลากรแต่ละ

               กลุ่มเป็นประจำทุกปี โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการทบทวนแบบสำรวจนอกจาก
               ถามความพึงพอใจและความผูกพันองค์กร ได้เพิ่มการถามถึงความสุขของบุคลากรเพื่อนำมาเป็นแนวทางใน

               การวิเคราะห์เสริมสร้างให้บุคลากรมีความสุขและความผูกพันองค์กรมากยิ่งขึ้น ส่งผลที่ดีต่อภารกิจที่ได้รับ

               มอบหมาย มีประสิทธิภาพในการทำงาน มีความจงรักภักดี และอัตราการลาออกที่น้อยลง เพื่อตอบสนองกล
               ยุทธ์การพัฒนาระบบประเมินความพึงพอใจและความผูกพัน จากผลการสำรวจและประเมินความผูกพันในปี

               พ.ศ. 2564 พบว่าอยู่ในระดับดี เท่ากับร้อยละ 88.80 (ภาพที่ 7.3-07) แยกเป็นกลุ่มทั่วไป ร้อยละ 87.78 กลุ่ม

               ผู้มีความสามารถพิเศษ ร้อยละ 87.46 และกลุ่มผู้นำ ร้อยละ 96.19 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา  ทั้งนี้ยังพบว่า
               บุคลากรยินดีที่จะเข้าร่วม/สนับสนุนกิจกรรมของสำนักวิทยบริการ ร้อยละ 91.00 รองลงมาบุคลากรภูมิใจที่จะ

               บอกกับผู้อื่นว่าเป็นบุคลากรของสำนักวิทยบริการ ร้อยละ 90.60 และพร้อมที่จะพัฒนางานและสร้างสรรค์สิ่ง

               ดีๆ ให้กับสำนักวิทยบริการ ร้อยละ 90.20 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ เช่น
               จำนวนการร้องทุกข์ของบุคลากร จำนวนการลาออก การขาดงาน จำนวนครั้งการมาสาย การมีส่วนร่วมกับ

               กิจกรรมของสำนักฯ จำนวนผลงานเชิงพัฒนาของบุคลากร เช่น ผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ จำนวน
               บทความที่บุคลากรนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระบบ KM ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2564 บุคลากรมีส่วนร่วมกับ

               กิจกรรมต่อชุมชน ร้อยละ 100 สามารถดำเนินงานสำเร็จตามตัวชี้วัดองค์กร ร้อยละ 82.27

               5.2ข วัฒนธรรมองค์กร สำนักฯ โดยผู้บริหารระดับสูงเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร “การทำงานเป็นทีม” โดย
               ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ “การเป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตชั้นนำระดับชาติ” พันธกิจ ค่านิยม ไปยังบุคลากรทุก

               กลุ่ม ตามกลยุทธ์การสร้างโอกาสในการสื่อสารและถ่ายทอดระหว่างบุคลากรและผู้บริหาร โดยผู้บริหารจะมี
               ส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของบุคลากรและรวมถึงการรับบุคลากรใหม่และส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารที่เปิดกว้าง




                 หมวด 5 บุคลากร                                                                        75
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96