Page 88 - 2564
P. 88
สถานการณ์องค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจ (HEART) และส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพดีแข็งแรงไม่เป็นอุปสรรค
ื่
ต่อการปฏิบัติงาน (HEALTH) ทั้งนี้มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเรื่องความเพียงพอของบุคลากร เพอสร้าง
ความมั่นใจในการจัดการความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรโดยพิจารณาจากแผนอัตรากำลังระยะยาว
โดยในปี พ.ศ. 2564 มีการทบทวนและปรับเปลี่ยนภาระงานบรรณารักษ์งานบริการและงานพัฒนาระบบฯ
เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และมีการจัดสวัสดิการประกัน COVID-19 ให้บุคลากรอย่างต่อเนื่องจากปีที่
ผ่านมาเพื่อเป็นหลักประกันสุขภาพในช่วงปีที่ COVID-19 ระบาดหนัก ทั้งนี้หากมีภาวะเสี่ยงสามารถปฏิบัติงาน
ที่บ้านได้ (WFH) โดยที่ผลการปฏิบัติงานยังคงมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 สำนักฯ
ั
ให้บุคลากรปฏิบัติงานที่บ้านรวมกันทั้งสิ้น 871 วัน ส่งผลให้ความพึงพอใจของบุคลากรในปี พ.ศ. 2564 เท่ากบ
ร้อยละ 80.00 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2564 พบว่า ไม่มีการลาออกของบุคลากร
5.1ก(4) ความสำเร็จในงาน สำนักฯ มีการกำหนดโครงสร้างองค์กร โครงสร้างการบริหารตามภารกิจ
ระบบงานตาม OAR Work System (ภาพที่ OP1-06) โดยมอบหมายให้คณะกรรมการ HRM บริหารบุคลากร
ตามสมรรถนะหลักขององค์กรด้านความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพของบุคลากร เพื่อให้สอดคล้องตามโครงสร้าง
และระบบงาน พิจารณาจากความต้องการ และความคาดหวังของผู้ใช้บริการ โดยบุคลากรทุกคนรับผิดชอบแต่
ละกระบวนการจะมีตัวชี้วัดระดับบุคคลตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้สำนักฯ มุ่งเน้น
การทำงานเป็นทีมตามวัฒนธรรมองค์กร โดยมีการแต่งตั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญของบุคลากรในแต่ละด้าน
ั
ื่
ที่แตกต่างกนจากทกฝ่ายเพอดำเนินงานตามภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การจัดตั้งกองบรรณาธิการวารสาร
ุ
Journal of Information and Learning (JIL) ประกอบด้วย 1) บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและ
ผลิตสิ่งพิมพ์จากฝ่ายเทคโนฯ และ 2) บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศจากฝ่ายหอสมุดฯ เพื่อพัฒนา
วารสารวิทยบริการฯ สามารถเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI 1 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ การดำเนินการ
โครงการคนกินแดดชายแดนใต้อบรมการใช้พลังงานทดแทนให้กับประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน และโครงการสถานีการเรียนรู้นอกห้องสมุด
(สนรส.) ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและแหล่งพลังงานโซลาร์เซลล์ที่เป็นการทำงานร่วมกันของบุคลากร
ทุกฝ่าย เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs โดยมีผลการ
ั
ประเมินการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 87.17 มีผู้เข้าอบรมนำไปพัฒนาต่อยอดและใช้งานจริง
จำนวนร้อยละ 10 ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2564 สำนักฯ ได้ทบทวนการบริการเชิงรุกและพิจารณาจากความเชี่ยวชาญ
ของบุคลากรฝ่ายหอสมุดฯ และฝ่ายเทคโนฯ โดยเปิดวิชาเลือกเสรีการเรียนการสอนห้องสมุดดิจิทัลและ
นวัตกรรมการเรียนรู้เข้าไปในหลักสูตรการเรียนของนักศึกษา นักศึกษามีความพึงพอใจต่ออาจารย์ผู้สอนอยู่ใน
ระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 และจัดอบรมให้ความรู้และสอนเทคนิคการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ผ่านระบบ
ออนไลน์โดยมีการใช้งานระบบ TOR for OAR ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการและ KPls
เป็นเครื่องมือเพื่อกำกับการทำงานที่สนับสนุนและมุ่งเน้นลูกค้าและการบริการที่เป็นเลิศ ดำเนินงานให้บรรลุ
เป้าหมาย มีผลการดำเนินงานที่เหนือความคาดหมาย บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักฯ
72 หมวด 5 บุคลากร