Page 93 - 2564
P. 93
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และกลยุทธ์ขององค์กร ทั้งนี้กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการกลั่นกรองทุกปี
เพื่อความเหมาะสมและโปร่งใส ทั้งนี้การประเมินผลการปฏิบัติงานยังคำนึงถึงลูกค้า โดยนำผลการประเมินความพึง
พอใจจากผู้รับบริการมาเป็นส่วนหนึ่งใน
การคิดคะแนนประเมินคุณภาพการ
ปฏิบัติงาน โดยในปี พ.ศ. 2564
คณะกรรมการ HRM ได้ทบทวน ปรับปรุง
กระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงานใน
การประเมินคุณภาพการทำงาน โดย
พัฒนาระบบ Tor for OAR ให้มีการ
ประเมินคุณภาพงานจากรายข้อของงาน
ประจำ เพื่อเห็นผลลัพธ์ของงานที่มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและ มีการนำผลการ
ประเมินไปใช้ในการพิจารณาบุคลากร
ดีเด่นโดยผู้ที่ได้การพิจารณาจะต้องมีผล
การประเมินระดับดีเด่นขึ้นไป รวมทั้งการ
ให้บุคลากรและฝ่ายเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสม
จะเป็นบุคลากรดีเด่นเพื่อการสร้างการมี ภาพที่ 5.2-02 ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน
ส่วนร่วมภายในองค์กรและมีวิธีการคัดเลือกที่ใช้แบบประเมินการครองตน ครองคน และครองงาน ที่มีมาตรฐานและ
ยุติธรรม ทั้งนี้มีการมอบเงินรางวัลและประกาศยกย่องชมเชยทางหน้าเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก อีกทั้งยังมีการนำผลการ
ประเมินไปพิจารณาเลื่อนขั้นพิเศษของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) โดยบุคลากรที่ได้รับ
การพิจารณาจะต้องมีผลการประเมินระดับดีเด่นและมีผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร มีการติดประกาศยกย่อง
ชมเชยผู้ที่มีผลการประเมินระดับดีมากขึ้นไปภายในหน่วยงาน กระบวนการดังกล่าวสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรร่วม
ขับเคลื่อนพัฒนางาน ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นของบุคลากร โดยในปี พ.ศ. 2564 สำนักฯ มีบุคลากรได้คะแนน
ระดับดีเด่น ร้อยละ 79.59 ระดับดีมาก ร้อยละ 20.41
บุคลากรมีการนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ จำนวน 15 ผลงาน และได้รับรางวัลจำนวน 11 ผลงาน มี
ผลสัมฤทธิ์จากการพัฒนาบุคลากร (ผลงานพัฒนา) ร้อยละ 50.60 คิดเป็นจำนวน 132 ผลงาน มีผลงานนวัตกรรมที่
พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาการทำงานและบริการลูกค้า จำนวน 14 รายการ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจระดับดีเด่น ร้อยละ
92.60 ส่งผลให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดขององค์กร ร้อยละ 85.82 (ภาพที่ 7.5-07) และการ
ดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ ร้อยละ 88.00 (ภาพที่ 7.5-08)
5.2ค(2) การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน สำนักฯ มีระบบการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากร (ภาพที่ 5.2-03)
โดยการดำเนินการตามกลยุทธ์พัฒนาและปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากรทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว พิจารณา
จากการนำระบบงาน สมรรถนะหลักขององค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์และจุดเน้นขององค์กรมากำหนดการ
พัฒนาตามกลุ่มบุคลากรที่จัดไว้ 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มทั่วไป 2) กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ และ 3) กลุ่มผู้นำ
และข้อมูลจากการวิเคราะห์ขีดความสามารถที่จำเป็นของบุคลากรและการพัฒนางานตามมาตรฐานและ
หมวด 5 บุคลากร 77