Page 24 - 2564
P. 24
หมวด 1 การน าองค์กร
(Leadership)
ผู้นำระดับสูงขับเคลื่อนสำนักฯ ในการสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรภายใต้แนวคิด FOREST และ
TREE เพื่อมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ภายใต้พันธกิจและค่านิยมองค์กรที่กำหนด โดยมีแนวทางการถ่ายทอดวิสัยทัศน์
พันธกิจและผลการดำเนินการขององค์กรด้วยวิธีการสื่อสารที่หลากหลาย ตลอดจนการกำกับดูแลองค์กรในการ
ประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมและการทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยการ
ปฏิบัติตนให้เห็นเป็นแบบอย่าง
1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง
ผู้นำระดับสูง คณะกรรมการ TQA และตัวแทนบุคลากร ร่วมกันทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยม
ขององค์กร และสื่อสารไปยังบุคลากรด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น ในที่ประชุมบุคลากรประจำปี ในการจัด
กิจกรรมอบรมบุคลากร โดยผู้นำระดับสูงใช้กรอบ
แนวคิด FOREST ในการนำองค์กร ดังภาพที่ 1.1-01
และตารางที่ 1.1-06
ภายใต้แนวทาง FOREST ยังประกอบด้วย
TREE จำนวน 4 ต้นหลัก ได้แก่ ต้นบุคลากร (Man)
ต้น ผ ู้ใช ้บ ร ิการ ( Stakeholder/ Users) ต้น
กระบวนการทำงาน (Work Process) และต้นการ
จัดการ (Management) โดยทั้งระบบจะเชื่อมโยงกัน
ดังภาพ จากระบบใต้ดินที่ทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่
การวิเคราะห์ (Analysis) การประมวลผล
(Processes) ระบบงาน (Systems) และแพลตฟอร์ม
(Platform) จะส่งผลต่อการบริหารจัดการที่มี
ประสิทธิภาพ ได้ผลตามนโยบายองค์กรที่วางไว้เกิด
ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่มีความ
ยั่งยืน
ภาพที่ 1.1-01 แนวทางการนำองค์กรแบบ FOREST
1.1ก วิสัยทัศน์และค่านิยม
1.1ก(1) กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม ผู้นำระดับสูงของสำนักฯ ประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ
หัวหน้าฝ่าย มีการทบทวนและปรับปรุงวิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยม เมื่อปี พ.ศ. 2563 และยังคงขับเคลื่อน
องค์กรตามแนวเดิมในปี พ.ศ. 2564 โดยกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมุ่งสู่การเป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตชั้นนำ
ระดับชาติ และมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด และดำเนินงานตามค่านิยมของมหาวิทยาลัย
โดยนำความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากร และความต้องการของผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสีย รวมทั้งแนวนโยบายของผู้บริหารที่ต้องการขับเคลื่อนสำนักฯ เชิงรุกไปสู่การเป็นอุทยานการเรียนรู้
12 หมวด 1 การน าองค์กร