Page 37 - 0018
P. 37

29


               4.2. กระบวนการของงานบริการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ตำบลบ้านกลาง
               อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

                       ผลการวิเคราะห์กระบวนการของงานบริการวิชาการด้านพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
               ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน สามารถสรุปตามประเด็นการศึกษา
               ได้ ดังนี้
                              4.2.1. ศึกษาบริบทของพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐ พบว่า มีพื้นที่ติดกับทะเลและพื้นที่ไม่ติด

               ทะเล ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลบ้านกลาง ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ทำนา ประมง สวนมะพร้าว ค้าขาย
               จักสาน ทำน้ำตาลโตนด เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช และรับจ้างทั่วไป ใช้ภูมิปัญญาและวิถีชุมชน อาศัยอยู่ด้วยกันบนพื้นฐาน

               หลักการศาสนา แบบฉันท์พี่ฉันท์น้อง มีความรักและสามัคคี ในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการจัดการ ให้คนใน
               ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการชุมชนโดยภาครัฐ ซึ่งได้แก่ พัฒนาชุมชนอำเภอ เกษตรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล

               และท้องที่ รวมถึงเริ่มมีการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในการดำเนินการบริการวิชาการด้านการพัฒนา
               ทักษะอาชีพ ได้ทำการศึกษาทุน 5 ด้าน ของคนจน ได้แก่ ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติ และทุนมนุษย์ ของพื้นที่นี้อยู่ใน

               ระดับที่ดีมาก (คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.50, 3.44 และ 3.11 ตามลำดับ) รองลงมาทุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก (คิดเป็น
               ค่าเฉลี่ย 2.87) ส่วนน้อยสุดคือ ทุนการเงินอยู่ในระดับปานกลาง (คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.99) จำนวนทั้งสิ้น 59 คน
               (ตัวแทนครัวเรือน) ซึ่งเป็นผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มคนยากจน จำนวน 28 คน (ตัวแทนครัวเรือน) คิดเป็นร้อยละ

                                             ์
               31.11 ของกลุ่มคนยากจนตามเกณฑของ จปฐ. และ กชช2ค. ที่มีจำนวน 90 คน (ตัวแทนครัวเรือน)
                              เมื่อพิจารณาจากการศึกษาบริบทชุมชนเพอพูดคุยทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ทำความรู้จักกัน
                                                                ื่
               เพื่อให้ชุมชนได้รับความไว้วางใจในการพัฒนา โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม ร่วมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
               เพื่อให้ชาวบ้านได้ทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการเข้ามาในชุมชนให้แก่ชาวบ้านกลาง หมู่ 5 ที่มีความ

               สนใจในการยกระดับรายได้  เป็นการชวนคุย สอบถามสภาพปัญหาและความต้องการของชาวบ้าน ที่มีความสนใจ
               ในการยกระดับรายได้ และในขณะเดียวกันเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายในชุมชน (ผู้นำชุมชน หน่วยงานพื้นที่
               บัณฑิต) ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่


                              สรุปได้ว่า ทุนที่มีผลต่อทุนการเงิน มากที่สุดคือ ทุนธรรมชาติ รองลงมา คือทุนกายภาพ และทุกท ี่
               ส่งผลต่อทุนการเงินน้อยที่สุดคือ ทุนมนุษย์ นั่นแสดงให้เห็นว่าหากจะดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน และ

               ความสามารถในการปรับตัวเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ จะต้องส่งเสริมทุนธรรมชาติ และทุนกายภาพ เป็น
               ลำดับต้นๆ ก่อนที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ ส่วนทุนที่มีความสัมพันธ์ใน

               ทิศทางเดียวกับทุนการเงิน ได้แก่ ทุนธรรมชาติ ทุนกายภาพ และทุนมนุษย์ ตามลำดับ ส่วนทุนที่มีความสัมพันธ์ใน
               ทิศทางตรงกันข้ามกับทุนการเงิน คือ ทุนทางสังคม นั่นแสดงให้เห็นว่า เมื่อพัฒนา หรือส่งเสริม ทุนธรรมชาติ
               ทุนกายภาพ และทุนมนุษย์ สามารถทำให้ทุนการเงิน ได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมไปด้วย ส่วนทุนทางสังคมนั้น

               ในชุมชนบ้านกลางมีเครือข่ายและความสัมพันธ์ภายในชุมชน ที่ดีในชุมชนอยู่แล้ว ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน/ประชา
               สังคม และภาควิชาการ จึงทำให้ทุนสังคมไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงเป็นเพียงแค่หนุนเสริมให้มีการแก้ไขปัญหา

                                                                                 ื่
               ความยากจน พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ และความสามารถในการปรับตัวเพอลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42