Page 32 - 0018
P. 32

24


               3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานบริการวิชาการเพื่อ ตอบสนองความต้องการของสังคมของมหาวิทยาลัยกลุ่ม

               ภาคเหนือตอนล่าง ตรวจสอบรูปแบบที่สร้างขึ้นจากข้อมูลเชิงประจักษ์ และประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
               (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แหล่งข้อมูลคืออาจารย์มหาวิทยาลัยกลุ่ม
               ภาคเหนือตอนล่าง ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการ

               บริหารงานบริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมของมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีปัญหา
               ใน 6 ด้าน คือ (1) การจัดทำแผนการบริการวิชาการแก่สังคมประจำปี ที่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม

               (2) โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนยังไม่มีกระบวนการที่พัฒนา นักศึกษา ชุมชนหรือสังคมที่ยั่งยืน (3)
               กระบวนการบริหารงานบริการวิชาการแก่สังคมแบบให้เปล่ายังไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของสังคม (4) ยังไม่

               มีรูปแบบในการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนงานและโครงการ (5) การประเมินความสำเร็จ ของ
               รูปแบบการให้บริการวิชาการแก่สังคมยังไม่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (6) กรอบการบริหารงานบริการวิชาการแก่

                                                                                                   ื่
               สังคมแบบมีส่วนร่วมยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) รูปแบบการบริหารงานบริการวิชาการเพอตอบสนอง
               ความต้องการของสังคมของมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มี 6 องค์ประกอบหลัก และ 30 องค์ประกอบ
               ย่อย 3) ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานบริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมของ

               มหาวิทยาลัยกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับ
               มาก


                       ชยาวัฒ เกียรติกลมมาล์ และสุรเกียรติ ชาติวัฒนาวิทย์ (2564) ได้ทำการศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนา
               รูปแบบการบริการวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา เฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลันสวนดุสิตธานี

               มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการจาก สถาบันอุดมศึกษาด้านอุตสาหกรรม
               บริการ โดยเก็บข้อมูลจากผู้รับการบริการวิชาการ จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม
               และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการของชุมชนในการรับบริการวิชาการจาก

               สถาบันอุดมศึกษา ด้านอุตสาหกรรมบริการ ค่อนข้างมีความแตกต่างกันตามประเภทของกลุ่มผู้รับบริการวิชาการ
               ทั้งในด้านของลักษณะองค์กร ลักษณะผู้เรียน ความพร้อมของอุปกรณ์และสถานที่ การติดต่อนัดหมาย ลักษณะ

               ของความต้องการ ระยะเวลาในการทำกิจกรรม ด้านความปลอดภัยในพื้นที่การจัดกิจกรรม และด้านการหารือกับ
               เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน 2) ความพึงพอใจของผู้รับบริการวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาด้านอุตสาหกรรม บริการ

               พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมต่อการบริการวิชาการ อยู่ที่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่
               ผู้รับบริการวิชาการมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการนำความรู้ไปใช้ รองลงมาคือ ด้านผู้ให้บริการวิชาการ

               ด้านสถานที่ และระยะเวลา ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของ ผู้รับบริการวิชาการจาก
               สถาบันอุดมศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการที่พบว่า ตัวแปรด้านประเภทของหน่วยงาน มีผลต่อความพึงพอใจของ
               ผู้รับบริการวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา ในด้านกระบวนการหรือ ขั้นตอนการบริการวิชาการ ด้านผู้ให้บริการ

               วิชาการ และด้านสถานที่ ระยะเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการด้าน
               การนำความรู้ไปใช้ และ 4) แนวทางการพัฒนารูปแบบ การบริการวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาด้านอุตสาหกรรม

               บริการ พบว่า มีข้อเสนอแนะแนวทางการ พัฒนาทั้งในด้านกระบวนการหรือขั้นตอนการให้บริการวิชาการด้านผู้
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37