Page 73 - 001
P. 73

62





                   มหาภูตรูป 4 กล่าวคือ

                                - ปฐวีธาตุ : ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข็งในร่างกาย อันได้แก่ ผม ขนเล็บฟัน
                   หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ฯลฯ

                                - อาโปธาตุ : ธาตุน้ำ คือธาตุที่มีลักษณะไหลเวียนในร่างกาย เช่น เสลด หนอง
                   เลือด เหงื่อ น้ำลาย น้ำมูก ฯลฯ
                                - วาโยธาตุ : ธาตุลม คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นลมพัดไปมาในร่างกาย เช่น ลมใน

                   ท้อง ลมในไส้ ลมหายใจ ฯลฯ
                                - เตโชธาตุ : ธาตุไฟ คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อนในร่างกาย อันได้แก่อุณหภูมิที่ทำให้

                   ร่างกายอบอุ่น หรือการเผาผลาญอาหารให้ย่อย ฯลฯ
                             • เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อสิ่งที่รับรู้นั้น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 อย่างคือ 1)
                   ความรู้สึกเป็นสุขทางกายหรือทางใจเรียกว่าสุขเวทนา 2) ความรู้สึกเป็นทุกข์หรือไม่สบายทาง

                   กายหรือทางใจ เรียกว่า ทุกขเวทนา 3) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์ทางกาย ไม่ทุกข์
                   ทางใจ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา

                             • สัญญา ได้แก่ ความจำได้หมายรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยอาศัยประสาทสัมผัส เช่น ตาเห็น
                   สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็สามารถกำหนดรู้ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร
                             • สังขาร ได้แก่ สิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้คิดดี คิดชั่ว หรือคิดเป็นกลางไม่ดี ไม่ชั่ว

                             • วิญญาณ ได้แก่ การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
                   เป็นต้น

                              ขันธ์ 5 ดังกล่าวนี้ พระพทธเจ้าตรัสว่าเป็น อนัตตา คือ ไม่มีตัวตน เป็นแต่สภาวะ
                                                    ุ
                                                                                         ุ
                   เท่านั้น สิ่งที่พราหมณ์เชื่อในเรื่องอาตมัน คือสิ่งทั้งหลายเป็นตัวเป็นตนนั้น พระพทธเจ้าทรงแย้ง
                   อย่างสิ้นเชิง ทรงอธิบายว่าสิ่งที่เรียกว่าตัวตน เรา-เขาเป็นแต่เพยงเรื่องสมมติทั้งสิ้น คนต้อง
                                                                             ี
                   ยึดถือตนเป็นที่พงของตน ไม่ให้ถืออะไรเป็นที่ตั้ง ไม่ให้ยึดถือเป็นจริงเป็นจัง ด้วยว่าสิ่งนั้นๆ หรือ
                                  ึ่
                   ตนนั้นๆ ในที่สุดก็แตกสลายไปตามธาตุเดิมของมัน จะเป็นร่างกายหรือจิตใจก็มีการแปรเปลี่ยน

                   สลายไป เกิดและดับอยู่เป็นนิจ ไม่มีคงที่อยู่ได้เลย
                                                        ุ
                                                                                                     ั
                          2. ในเรื่องของความเชื่อถือ พระพทธเจ้าสอนว่า อย่าเชื่อถืออะไรแบบงมงาย, โดยฟง
                   ตามกันมา สืบต่อกันมา, เชื่อตามข่าวลือ, อ้างตำรา, โดยนึกเดาเอาเอง, โดยคาดคะเนเอาเอง
                   หรือโดยคิดเอาตามอาการที่เป็นไปชอบใจว่าถูกต้องตามความเห็นของตัว หรือว่าเชื่อ เพราะผู้
                                               ู
                   พูดควรจะเชื่อได้ หรือเพราะผู้พดนั้นเป็นครูอาจารย์ของเรา ควรเชื่ออย่างมีเหตุผล คือ เชื่อด้วย
                   ปัญญาการหยั่งรู้ของตนเอง ฉะนั้น จึงตรงกันข้ามกับศาสนาพราหมณ์ที่กำหนดให้เชื่อสิ่งที่พวก
                   พราหมณ์กำหนดให้เชื่อ คือ 1) เชื่อคัมภีร์พระเวทว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ 2) เชื่อว่าพราหมณ์เป็น
                   นักบวช เป็นผู้แทนจากเทพเจ้า 3) เชื่อว่ามนุษย์ต้องถูกกำหนดออกเป็นชั้นวรรณะ ซึ่งเป็นหลักที่

                   พระเจ้าประทานมา ดังนั้น ผู้ที่นับถือพทธศาสนาจึงได้ชื่อว่ามีเสรีภาพในการเชื่ออย่างเต็มที่
                                                      ุ
                   เพราะไม่นิยมบังคับให้เชื่อ
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78