Page 75 - 001
P. 75
64
รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้หรือรู้จักการเก็บออม 3) คบเพื่อนที่ดีงาม 4) ใช้จ่ายให้เหมาะแก่ฐานะ
ของตน ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ชี้แจงให้ทราบถึงเหตุที่ทำให้ยากจนอีก 4 ประการ คือ 1) การ
เป็นนักเลงหญิง 2) การเป็นนักเลงสุรา 3) การเล่นพนัน 4) การคบคนชั่วเป็นมิตร
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการสอนวิธีการดำเนินชีวิตทางเศรษฐกิจให้ได้ความสุขตามวิถีทาง
ของพระพุทธเจ้า ส่วนการดำเนินชีวิตแบบพระสงฆ์หรือผู้ออกบวชในศาสนาพุทธ พระพุทธองค์
ุ่
ทรงเสนอวิธีการดำเนินชีวิตที่ไม่สิ้นเปลือง กล่าวคือ ทรงไม่เน้นความเป็นอยู่ที่ไม่ฟมเฟือย สอน
ให้รักสันโดษ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ทรงสอนให้ภิกษุสงฆ์มีสิ่งจำเป็นเพียง 4 ประการ ได้แก่ ผ้านุ่งห่ม
(จีวร), อาหาร (ที่ได้จากการบิณฑบาต),ที่อยู่อาศัย และยาแก้เจ็บไข้ เครื่องอาศัยทั้ง 4 ประการ
ุ
ุ
พระพทธเจ้ากำหนดให้ใช้แต่ของง่ายๆและสะดวก นอกจากนี้พระพทธองค์ยังทรงมีข้อบัญญัติ
อีกหลายประการ เช่น ห้ามหยิบจับหรือรับเงินทอง หรือใช้ของที่ทำด้วยทองหรือเงินที่สวยงาม
เกินไป ห้ามขอของจากใครต่อใครโดยเขามิได้อนุญาตให้ขอ ห้ามมักมาก แม้กระทั่งอาหารก็ไม่มี
การสะสม คือห้ามเก็บไว้ค้างคืนเพอจะใช้บริโภคในวันรุ่งขึ้น พระภิกษุจึงไม่ทำตัวเบียดเบียน
ื่
ชาวบ้านดังเช่นพวกพราหมณ์ ซึ่งมักอ้างว่าต้องใช้เงินทองมาก เพื่อทำพิธีให้พระเจ้าพอพระทัย
การบูชาตามวิธีของพระพทธเจ้านั้นทรงกล่าวไว้เมื่อใกล้จะเสด็จปรินิพพานว่า “การ
ุ
บูชาพระองค์ด้วยอามิสบูชา มีดอกไม้ เป็นต้น ยังไม่ได้ชื่อว่าบูชาแท้ แต่ผู้ใดประพฤติปฏิบัติธรรม
ปฏิบัติชอบตามทำนองคลองธรรม ผู้นั้นจึงชื่อว่า เคารพสักการะนับถือบูชาพระตถาคตด้วยบูชา
อันยอดเยี่ยม”
2. ทางด้านสังคม พระพทธองค์ทรงคัดค้านระบบวรรณะ อันเป็นเหตุให้วรรณะต่ำ
ุ
ต้องได้รับความเดือดร้อน พระพทธองค์ได้แสดงธรรมไว้ว่าทุกคนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน
ุ
แต่ที่มีการแบ่งออกเป็น 4 วรรณะใหญ่ ๆ นั้น เป็นการแบ่งตามหน้าที่ มิใช่เป็นพระบัญชาจาก
พระผู้เป็นเจ้า วรรณะทั้ง 4 มีที่มาของแต่ละวรรณะดังต่อไปนี้
กษัตริย์ เกิดมาจากประชาชน เพอทำหน้าที่ปกป้องภยันตรายและเป็นผู้พทักษ์รักษา
ิ
ื่
สมบัติของประชาชน
พราหมณ์ คือ ผู้มีหน้าที่ห้ามวิถีทางที่ชั่วร้ายและไม่ดีของประชาชน
แพศย์ วรรณะนี้มีกำเนิดมาจากประชาชนที่ได้ประกอบอาชีพและการค้าทุกชนิด จึงได้
ชื่อว่า “เวสส”หรือแพศย์
ศูทร มีกำเนิดมาจากพวกที่มีอาชีพเป็นพรานล่าสัตว์และทำการค้าย่อย ๆ ดังนั้น จึงได้
ชื่อว่าสุททะ (ศูทร)
ุ
นอกจากนี้ ในทัศนะของพทธศาสนาจึงได้ชี้แจงว่า แต่ละวรรณะมิได้เป็นเรื่องตายตัว
หรือการสืบตระกูล ยกตัวอย่างการเป็นนักบวชไม่ว่ามาจากวรรณะไหนก็สามารถออกบวชได้
ุ
เหมือนกันหมด พระพทธองค์ทรงแสดงให้เห็นว่า การที่คนในสังคมแตกต่างกันก็เพราะกรรมที่
ตนกระทำไปนั่นเอง วรรณะใดก็แล้วแต่ หากกระทำชั่วทั้งกายกรรม (การกระทำ) วจีกรรม
(คำพด) และมโนกรรม (ทางความคิด) ก็จะได้รับผลแห่งกรรมชั่ว ชาติกำเนิดมิได้เป็นสิ่ง
ู
กำหนดว่าผู้ใดจะเป็นผู้ที่สูงที่สุด น่ายกย่องที่สุด แต่คุณงามความดีต่างหากที่จะเป็นเครื่องตัดสิน