Page 78 - 001
P. 78
67
ในการก่อสร้าง ยังไม่มีระบบเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางการค้าขายแลกเปลี่ยนและยังไม่มีการ
2
เดินทางไปค้าขายยังดินแดนที่ห่างไกลรวมถึงยังไม่มีตัวอักษรใช้
ุ
ต่อมาเข้าสู่ช่วงพทธศตวรรษที่ 3-5 (350-50ปีก่อนคริสตกาล) ช่วงนี้พฒนาการทาง
ั
อารยธรรมของประชากรสูงขึ้น นักโบราณคดีเรียกสมัยนี้ว่า “สมัยเหล็กตอนปลาย” นัก
ประวัติศาสตร์เรียกว่า “สมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ” สมัยนี้เริ่มมีการจัดระเบียบสังคมแบบ
สังคมเมือง ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โมริยะและสืบต่อโดยราชวงศ์ศุงคะ ซึ่งมีศูนย์กลาง
การปกครองอยู่ในแคว้นมคธบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาตอนล่างในช่วงนี้ประเทศอินเดียถูกรุกราน
ื้
จากภายนอก เช่น เปอร์เซีย กรีก ซิเถียน ปาเถียน และยูชิห์ เข้ามาครอบครองพนที่ทาง
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของอินเดียบางส่วน กล่าวได้ว่า กลุ่มชน
ต่างชาติเหล่านี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างอารยธรรมอินเดียเป็นอย่างมากโดยเฉพาะพวกเปอร์เซีย
และกรีก
ั
การศึกษาทางด้านโบราณคดีพบว่า สังคมของชาวอินเดียมีพฒนาการทางสังคมและ
วัฒนธรรมสูงขึ้น เริ่มมีการจัดระบบสังคมแบบสังคมเมือง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3-5 ในช่วงนี้มี
การวางผังเมืองและจัดระเบียบสาธารณสุขให้มีสุขอนามัย มีการวางท่อระบายน้ำที่ทำด้วยดิน
เผา มีการใช้อิฐในการก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและอาคารสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ มีการ
ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ในการเขียน (ตัวอักษรพราหมี) รวมทั้งรับตัวอักษรต่างชาติมาใช้ด้วย
(อาราเมเรียนและขโรษิฐี) มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติที่อยู่ห่างไกลและเริ่มมีการใช้เหรียญ
กษาปณ์ (coins currency) เป็นสื่อกลางในการค้าขาย ปรากฏตราประทับต่าง ๆ (seals) ทั้ง
ที่ทำจากหิน โลหะ และดินเผา ในยุคนี้เป็นครั้งแรกเช่นกัน ตราประทับนี้จะนิยมใช้โดยกษัตริย์
สถาบันศาสนา เอกชน หรือหมู่คณะเพื่อผลทางค้าขาย การเมือง และศาสนา
ภาพที่ 22 เหรียญกษาปณ์สมัยราชวงศ์โมริยะ
ที่มา : https://upload.wikimedia.org/[Online] accessed 27 October 2018.
ิ
์
2 ผาสุข อินทราวุธ. (2542). ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพมพอักษรสมัย,
หน้า 31.