Page 71 - 001
P. 71
60
กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในความรักหรือความใคร่ (2) ภวตัณหา คือ ความอยากมี
ื่
อยากเป็น สิ่งใดต้องใจก็อยากได้ ดิ้นรน ขวนขวายเพอให้ได้สมปรารถนา (3) วิภวตัณหา คือ
ความอยากในความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
3. นิโรธ คือ การดับทุกข์ ได้แก่ ความพยายามดับตัณหา ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์
4. มรรค คือ การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความดับทุกข์
การแตกแยกของพระพุทธศาสนา และสาเหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากอินเดีย
ุ
หลังจากที่พระพทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วประมาณ 100 ปี คณะสงฆ์ใน
ุ
ศาสนาพทธได้แตกแยกออกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายเถรวาทและนิกายมหาสังฆิกะ ด้วยสาเหตุ
หลักในเรื่องของพระวินัยบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเห็นว่าเป็นข้อห้ามเล็กน้อยและให้ถือปฏิบัติได้
ุ
แต่ภิกษุอีกหมู่หนึ่งไม่เห็นด้วยยังคงถือตามพระพทธพจน์แห่งองค์สมเด็จสัมมาสัมพทธเจ้าอยู่
ุ
กลุ่มที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขธรรมวินัยได้ชื่อว่า มหาสังฆิกะ ส่วนกลุ่มที่ยังคงถือพระวินัยเดิม เรียก
ว่าสถวีรวาท (เถรวาท)
อีก 200 ปีต่อมาทั้งสองนิกายได้แตกแยกออกเป็นนิกายเล็กนิกายน้อยไม่ต่ำกว่า 20
นิกาย ความแตกต่างกันระหว่างนิกายเถรวาทและมหาสังฆิกะ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ความเชื่อใน
เรื่องของพระพุทธเจ้ามากกว่าในเรื่องพระธรรม กล่าวคือ ฝ่ายเถรวาทถือว่า พระพุทธเจ้าที่ทรง
สั่งสอนผู้คนต่างๆ พระองค์มีลักษณะเป็นมนุษย์ทุกประการ ส่วนฝ่ายมหาสังฆิกะมีความเห็นแย้ง
ว่าพระพทธเจ้าไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาแต่มีกายทิพย์ และแสดงองค์เป็นมนุษย์โดยมายาเพอช่วย
ุ
ื่
สัตว์โลกให้พ้นทุกข์ นิกายมหาสังฆิกะนี้ได้เปลี่ยนแปลงแต่งเติมเสริมต่อพระสูตรและพระวินัยขึ้น
มากมาย และอ้างว่าเป็นพระพุทธพจน์ทั้งสิ้น แต่ยังยอมรับหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
ในเรื่องของอริยสัจ 4, มรรค 8 (ทางสายกลาง 8 ประการที่ควรประพฤติ) และเรื่องของอนัตตา
(ความไม่มีตัวตน) แต่ที่แตกต่างจากเถรวาท คือ เรื่องที่ถือว่าพระพทธเจ้าไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา
ุ
แต่เป็นผู้อยู่เหนือโลก (โลกุตตระ) แนวคิดต่างๆของมหาสังฆิกะในเรื่องพุทธลักษณะนี้ สืบต่อมา
ในนิกายมหายานนั่นเอง
8
ในนิกายมหายานได้แสดงความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นความ
เชื่อคนละความหมายกับพระโพธิสัตว์ในฝ่ายเถรวาท กล่าวคือ นิกายเถรวาทเชื่อว่าพระโพธิสัตว์
คือ “ผู้แสวงหาโพธิญาณ” หรือผู้ที่ต้องการเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แต่ทางฝ่ายมหายานเชื่อ
ว่า พระโพธิสัตว์คือ “สัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีและมีความต้องการที่เข้าถึงพุทธภาวะ และเน้นที่ความ
บริบูรณ์ของบารมีธรรมทุกประการที่จะตัดกิเลศตัณหาและยกกระแสจิตเข้าสู่ปรินิพพานในวาระ
สุดท้าย แต่ได้ระงับการตรัสรู้ธรรมในลักษณะนั้นไว้ก่อน เพอช่วยรื้อขนปวงสัตว์ให้ออกจาก
ื่
9
สังสารวัฏให้หมดก่อน แล้วตนเองจึงจะตามไป”
8 ผาสุข อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, หน้า 2.
9
เรื่องเดิม, หน้า 40.