Page 70 - 001
P. 70

59





                   ความสำคัญของพระเจ้าและเทพเจ้า ไม่มีคำสอนเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ควบคุมโลก หรือพระ

                   เจ้าเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต แม้ในคำสอนจะพบการกล่าวถึงเทพต่างๆ แต่ก็มิได้แสดง
                   บทบาทและอิทธิพลของเทพเหล่านั้นเหนือชีวิตมนุษย์ ทั้งมนุษย์และเทพเจ้ายังคงอยู่ภายใต้กฎ
                   แห่งกรรมเช่นเดียวกัน จึงไม่มีใครมีอำนาจเหนือใครได้อย่างแท้จริง แม้ชาติตระกูลจะสูงส่งหรือ

                   ร่ำรวยมหาศาลปานใดก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันความดีความชั่วของแต่ละคน เพราะคนดี
                   หรือคนเลวไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่การกระทำของบุคคลนั้นๆ
                                                6
                                                                 7
                                             ุ
                                                           ุ
                          ศาสดาของศาสนาพทธ  คือ พระพทธเจ้า  เดิมพระนามว่าเจ้าชายสิทธัตถะ เป็น
                                                       ั
                   เจ้าชายแห่งราชวงศ์ศากยะ แคว้นกบิลพสดุ์ เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริ
                                                ิ
                   มหามายา ประสูติ ณ ตำบลลุมพนีวัน เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับ
                   เจ้าหญิงยโสธราพิมพา ต่อมามีพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ราหุล เมื่อพระชนมายุได้ 29

                   พรรษาได้ละทิ้งชีวิตที่สะดวกสบายภายในพระราชวังออกผนวช ทรงใช้เวลา 6 ปี ในการทรมาน
                   ตนเองด้วยหวังจะค้นพบสัจธรรมสูงสุด ในที่สุดจึงตระหนักว่า วิธีการทรมานตนเองและการ

                   บำเพญทุกขกริยานั้น ไม่ได้นำมาซึ่งความหลุดพน ดังนั้น จึงเลิกการปฏิบัติดังกล่าวและใช้วิธี
                                                              ้
                        ็
                        ็
                   บำเพญทางสมาธิจิต จนบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในวันเพ็ญเดือน 6 ในขณะที่ทรงประทับนั่งใต้
                   ต้นโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา หลังตรัสรู้แล้วได้ทรงประทับเสวยวิมุตสุขอยู่ถึง 49 วัน แล้วจึง

                   ประกาศพระศาสนา ได้ทรงใช้เวลา 45 ปี จาริกประกาศหลักธรรมอันนำไปสู่การหลุดพนใน
                                                                                                  ้
                   ประเทศอินเดีย


                   หลักธรรมคำสอน

                                ุ
                          พระพทธเจ้าทรงรับรู้ถึงสภาวะแห่งการเปลี่ยนปลง ซึ่งเป็นธรรมชาติของโลก ไม่มีสิ่งใด
                   คงทนถาวร มนุษย์ไม่อาจพบความถาวร ณ ที่ใดเลย ความไม่คงทนถาวรนั้น ย่อมนำมาซึ่งความ
                   เศร้าโศกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น พระพทธเจ้าจึงแสวงหาหนทางแห่งความหลุดพนด้วยการ
                                                         ุ
                                                                                             ้
                                                                                      ้
                   สละความรู้สึกแห่งตัวตน จนความรู้สึกนั้นหมดสิ้นไป หนทางแห่งการหลุดพน คือ นิพพาน อัน
                                                                                       ้
                   เป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ โดยหลักธรรมที่สำคัญในการนำไปสู่การหลุดพนแห่งความทุกข์
                   เรียกว่า อริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ
                          1.  ทุกข์ อันได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย การประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก การพลัดพราก

                   จากสิ่งที่เป็นที่รัก ความปรารถนาที่ไม่สมหวัง
                          2.  สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ประกอบด้วยความอยาก 3 ประการ คือ (1)



                          6  คำว่า พุทธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นจากความลุ่มหลงเพราะอำนาจของกิเลส ดังนั้น จึงเป็นผู้ที่มีความเบิกบาน เพราะไม่มีกิเลสใน
                   ใจ
                          7  พระพุทธเจ้าไม่ใช่ชื่อเฉพาะของพระศาสดา แต่เป็นสมญานามที่ใช้หมายถึง บุคคลผู้ไม่มีกิเลส ปราศจากความลุ่มหลง
                   เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตื่นและมีปัญญารู้แจ้งความเป็นจริงแล้ว ดังนั้น เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อทรงตรัสรู้และค้นพบความจริงของโลกและ
                   ชีวิต จึงได้สมญานามว่า “พระพุทธเจ้า”
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75