Page 74 - 001
P. 74

63





                          3. เรื่องการล้างบาป ตามคติพราหมณ์เชื่อถือกันว่า ผู้ที่กระทำบาปแล้วก็สามารถล้าง

                   บาป เป็นผู้บริสุทธิ์ใหม่ได้ ถ้าหากได้ไปทำพิธีล้างบาปในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแม่น้ำที่คนนิยมไปคือ
                   แม่น้ำคงคา เพราะถือว่าเป็นแม่น้ำที่ไหลมาจากสรวงสวรรค์ ผ่านเศียรพระศิวะพระผู้เป็นเจ้า
                   เนื่องจากน้ำนั้นไหลผ่านเศียรพระศิวะจึงกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ชำระล้างบาปได้ ทำให้ผู้อาบ

                   สามารถลอยบาปไปตามกระแสน้ำ หรือว่าอาบแล้วทำให้เป็นผู้บริสุทธิ์ได้
                           อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธเรื่องการล้างบาปหรือลอยบาป พระองค์ทรงสอน

                   ว่า การประพฤติดีย่อมทำให้บุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์ แม่น้ำแห่งใดก็ไม่ช่วยให้คนบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ ถ้า
                   คนผู้นั้นทำบาปหยาบช้าและไม่รักษาศีล
                          4. พิธีบูชายัญ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการทำพิธีบูชายัญ โดยเฉพาะการฆ่าสัตว์บูชายัญ

                   เพราะถือว่าการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นบาป ในการบูชายัญของพราหมณ์มี 5 วิธีด้วยกัน เรียกว่า
                   อัสสเมธะ (การบูชายัญโดยการฆ่าม้า), ปริสเมธะ (การบูชายัญโดยการฆ่าคน), สัมมาปาสะ (การ

                   โยนไม้ให้ลอดบ่วง ไม้ตกที่ไหนทำการบูชายัญที่นั่น), วาชเปยยะ (การบูชายัญโดยการฆ่าสัตว์ 17
                   ชนิด) และนิรัคคฬะ (การบูชายัญที่ต้องฆ่าทั้งคนและสัตว์) ซึ่งการบูชายัญแต่ละวิธีล้วนแล้วแต่
                                          ุ
                   ต้องคร่าชีวิตทั้งสิ้น พระพทธเจ้าตรัสว่า การบูชาทั้ง 5 อย่างนั้น ได้ผลไม่เท่ากับ 1 ใน 16 ของ
                   การมีเมตตาจิตในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะการบูชายัญแบบนั้น เป็นการประทุษร้ายสัตว์และ
                   เป็นการหลงติดอยู่ในพิธีโดยตรง

                          5. การบวงสรวง ตามคติของศาสนาพราหมณ์ นิยมทำพิธีบวงสรวงสวดอ้อนวอนขอพร
                   จากพระผู้เป็นเจ้าโดยผ่านตัวกลางคือ พราหมณ์ ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารระหว่างเทพเจ้ากับ
                                                              ิ
                                       ุ
                   มนุษย์ ในเรื่องนี้พระพทธเจ้าทรงสอนมิให้ทำพธีบวงสรวงอ้อนวอน แต่สอนให้ลงมือกระทำ
                   เพื่อให้เกิดผลที่มุ่งหมายนั้นให้ถูกทาง
                          6. กรรม ในศาสนาพราหมณ์ถือว่าใครจะดีหรือเลว พระพรหมได้ลิขิตไว้เสร็จแล้ว ไม่มี

                   ใครแก้ไขได้ นอกจากพระพรหมเอง ส่วนพระพทธศาสนาถือว่าความดีความชั่วที่เราทำ ซึ่ง
                                                              ุ
                   เรียกว่า กรรมดี หรือกรรมชั่ว เป็นสิ่งที่ลิขิตชีวิตเรา ดังนั้น การที่เราได้ทำสิ่งต่างๆเอาไว้ บางทีก็
                   ดีบางทีก็ชั่ว ผลที่ได้รับจึงไม่เหมือนกันและบางครั้งก็สลับซับซ้อน จนไม่สามารถหาต้นตอของ

                   เรื่องได้ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ว่า “สัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตนเอง สัตว์ทั้งหลายเกิด
                   มาตามกรรมของตน...กรรมนี้แหละที่เป็นผู้แบ่งสัตว์ให้เป็นไปต่างๆกัน สูงบ้าง ต่ำบ้าง...”

                                                  ุ
                          7. การมีอยู่ของเทพเจ้า พทธศาสนามิได้ปฏิเสธการมีอยู่ของเทพเจ้าทั้งหลาย แต่ได้
                   กล่าวว่าเทพเจ้าเหล่านั้นมิได้มีผลต่อกระบวนการจักรวาล พระพรหมในคติความเชื่อของ

                                   ุ
                   พราหมณ์ในสมัยพทธกาล มีความสำคัญมากในฐานะผู้ทรงสร้างสรรค์โลกและสิ่งต่างๆบนโลก
                   ทั้งทีความเป็นจริงแล้ว โลกเกิดจากความเป็นไปตามกฎธรรมชาติ


                   อิทธิพลของศาสนาพุทธกับสังคมอินเดียในช่วงเวลานั้น
                          1. ทางด้านเศรษฐกิจ คำสอนของพระพุทธเจ้าเน้นว่าการดำรงชีวิตโดยทั่ว ๆ ไปไม่ต้อง

                   มีทรัพย์สมบัติมากก็สามารถอยู่อย่างเป็นสุขได้ อย่างไรก็ตามถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะร่ำรวยมี
                   ทรัพย์สินเงินทองมาก  ก็สามารถปฏิบัติได้โดยมีหลักดังนี้ 1) ขยันหมั่นเพยรแสวงหาทรัพย์ 2)
                                                                                    ี
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79