Page 69 - 001
P. 69
58
การศึกษา และได้รับการสนับสนุนให้แต่งวรรณกรรมที่มีจุดประสงค์หลักไปในทางศีลธรรม
ดังนั้น วรรณกรรมในศาสนาเชนจึงให้ความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์และนิรุกติศาสตร์
เป็นอย่างมากในเวลาต่อมา
3. ทางด้านการเมือง มโนคติในเรื่องของลักษณะของผู้ปกครองหรือกษัตริย์ในศาสนา
เชนคล้ายคลึงกับทัศนะของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือ กษัตริย์ควรเป็นผู้เคร่งครัดในศาสนา
อย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว แม้ศาสนาเชนจะยึดถือหลักอหิงสา แต่ก็ไม่
เคยคัดค้านการทำสงครามอย่างรุนแรงเลย ดังนั้น เราจะเห็นว่ากษัตริย์สำคัญๆที่นับถือศาสนา
ิ
เชนหลายพระองค์ได้ชื่อว่าเป็นผู้พชิต กล่าวได้ว่าศาสนาเชน เห็นกิจการทำสงครามนั้นเป็น
กิจกรรมที่เป็นปกติวิสัยของกษัตริย์
ศาสนาพุทธ
ุ
ในยุคก่อนการอุบัติขึ้นของศาสนาพทธนั้น ชาวอินเดียมีทัศนะเกี่ยวกับชีวิตเป็น 2
แนวทางคือ
1. กลุ่มที่เชื่อว่าตายแล้วต้องเกิดอีก เพราะมีตัวตนหรือที่เรียกว่า อาตมัน แม้ร่างกาย
จะสูญสลายไป แต่อาตมันยังคงอยู่ ไม่ได้สูญหายตามร่างกายไปด้วย ต้องเวียนว่ายตายเกิด
้
อย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุถึงความหลุดพน คือ การเข้าไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
ื่
พระเจ้าสูงสุดคือ พรหมัน มนุษย์จึงควรทำความดีตามหลักคำสอนในศาสนาเพอบังเกิดในภพ
ภูมิที่ดีจนกระทั่งเข้าสู่ความหลุดพนดังกล่าวได้ กลุ่มที่มีความเห็นเช่นนี้ เรียกว่า สัสสตทิฎฐิ
้
ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ฤาษีหรือนักพรตอื่นๆ โดยเฉพาะศาสนาเชนที่มุ่งการทรมานตนเพอให้
ื่
หลุดพ้นจากกิเลส
2. กลุ่มที่เชื่อว่า ตายแล้วสูญสิ้นทุกอย่าง เมื่อร่างกายแตกสลาย จิตก็แตกดับไปด้วย
ไม่มีวิญญาณอมตะ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนหรืออาตมันอีกต่อไป คนกลุ่มนี้มักเน้นการเสพวัตถุ
เพื่อให้ตนมีความสุขในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยไม่ต้องคิดถึงโลกหน้า สวรรค์ นรก ภพภูมิที่สัตว์
จะไปเกิดอื่นๆหรือพระเจ้าสูงสุด เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง เนื่องจากไม่สามารถพสูจน์
ิ
ทดสอบได้ด้วยประสาทสัมผัส การทำความดีความชั่วไม่มีผลอะไร ความดีคือการได้เสพสุขทาง
กายเท่านั้น ความชั่วคือการทำให้ตนเองเป็นทุกข์โดยการทรมานตนให้ลำบาก ตามหลักการ
ของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาอื่นๆที่เน้นสอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด กลุ่มที่มีความเห็น
5
เช่นนี้เรียกว่า อุจเฉททิฎฐิ ได้แก่ พวกจารวากหรือพวกวัตถุนิยม
การเกิดขึ้นของศาสนาพทธก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากเป็นการ
ุ
ปฏิวัติแนวความคิดของศาสนาพราหมณ์ที่ครอบคลุมสังคมอินเดียอยู่ในขณะนั้น ให้เป็นความ
ุ
เชื่อใหม่ที่เป็นไปตามแนวเหตุผลและมุ่งหลักความเป็นจริงเป็นที่ตั้ง ศาสนาพทธไม่เน้น
5 ภัทรพร สิริกาญจนและคณะ. (2546). ความรู้พื้นฐานทางศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
หน้า 28.