Page 67 - 001
P. 67
56
หลักธรรมมหาพรตสำหรับนักบวชมี 5 ประการเช่นเดียวกัน แต่เพิ่มเรื่อง การเว้นจากกามโดย
สิ้นเชิง แต่มีการปฏิบัติที่เคร่งครัดยิ่งกว่า
การแตกแยกของศาสนาเชน
ภายหลังจากที่มหาวีระสิ้นแล้ว สาวกของพระมหาวีระได้แตกแยกเป็นหมู่เป็นคณะ
แยกกันปฏิบัติตามหลักที่ตนเห็นว่าทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ แต่นิกายที่แยกออกไปนั้นยังคงมุ่ง
ี
ไปทางหลักอหิงสาอย่างเดียวกัน แตกต่างกันเพยงหลักการบางประการเท่านั้น นิกายที่สำคัญใน
ศาสนาเชนมี 2 นิกายใหญ่ๆ คือ
1. นิกายทิฆัมพร ได้แก่พวกเปลือยกาย นักบวชที่เป็นพวกชีเปลือย ทรมานตนเองให้
ได้รับความลำบากนานับปการ ไม่ยอมผูกพันกับเครื่องปกปิดร่างกาย เพราะพวกเขาเชื่อว่า การ
มีเครื่องแต่งกาย หรือมีผ้าปกปิดร่างกายนั้นทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับบริขารของตน หรือ
อาจเป็นเครื่องกังวลใจที่ต้องรักษาและแสวงหามา แต่เมื่อตนได้ถือเพศเป็นนักบวชเปลือยแล้ว
ความกังวลใจในเรื่องนี้ก็เป็นอันหมดไป พวกเขามีเพียงไม้กวาดและผ้ากรองน้ำ เพื่อมิให้สิ่งมีชีวิต
ถูกเบียดเบียนหรือตายเพราะตน หลักปฏิบัติของนิกายทิฆัมพรมีหลัก 3 ข้อ คือ (1) ไม่กินอาหาร
ใดๆ แม้น้ำก็ไม่ยอมให้ล่วงลำคอในคราวปฏิบัติ (2) ไม่มีสมบัติใดๆติดตัวแม้แต่ผ้านุ่ง (3) ไม่ยอม
ให้ผู้หญิงปฏิบัติตามและบรรลุธรรม ปัจจุบันนี้เราจะเห็นพวกทิฆัมพรอยู่ในแถบแคว้นเดคข่าน
กันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่เมืองไมซอร์
2. นิกายเศวตัมพร พระในนิกายนี้นุ่งขาวห่มขาว เพอปกปิดร่างกาย เพราะพจารณา
ิ
ื่
แล้วเห็นว่าตนยังมีความละอายใจที่ต้องสัญจรไปมาโดยไม่มีผ้าปกปิดร่างกาย พวกที่นับถือนิกาย
นี้ ส่วนใหญ่อยู่ในแถบภาคเหนือของอินเดีย เป็นต้นว่าแคว้นคุชราต และราชาสถาน อันเป็นแถบ
ที่มีอากาศหนาวมากกว่าตอนใต้ของประเทศที่พวกทิฆัมพรอาศัยอยู่
ทัศนะของศาสนาเชนที่มีต่อศาสนาพราหมณ์
4
1. การปฏิเสธในเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะ มหาวีระสอนว่าทุกคนต้องประกอบความดี จึง
จะหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ไม่ใช่ตามที่พวกพราหมณ์อ้างว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนดวรรณะ และ
วรรณะต่ำต้องรับทุกข์ในชาตินี้
2. การปฏิเสธรูปเคารพ และการนับถือรูปเคารพต่างๆของพวกพราหมณ์ ศาสนาเชน
อ้างว่าการสวดอ้อนวอนต่อรูปเคารพเหมือนอย่างที่พราหมณ์ทำพิธีบูชายัญ มีการสวดอ้อนวอน
แบบต่างๆนั้น ไม่ได้ทำให้มนุษย์เป็นคนดีขึ้นได้ ถ้ามนุษย์ไม่ทำความดี มนุษย์ก็ไม่สามารถหลุด
พ้นจากบาปเพื่อบรรลุโมกษะได้
4
ดนัย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, หน้า 131-132.