Page 57 - 001
P. 57
46
หล่อหลอมตามวิถีทางที่ได้กำหนดไว้ในวรรณะนั้น เช่น การเลี้ยงดู การศึกษา การประกอบ
อาชีพ การสมรส และการดำเนินชีวิตในสังคม แม้ในทางทฤษฎีจะมีข้อกำหนดให้ประกอบอาชีพ
ตามแต่ละวรรณะ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในความเป็นจริง อาจมีการประกอบอาชีพข้าม
วรรณะกันได้ ยกเว้นอาชีพบางอย่างที่สงวนไว้ให้แก่บางวรรณะเท่านั้น ในสมัยนี้ได้มีการแบ่ง
วรรณะในสังคมออกเป็น 4 วรรณะด้วยกัน ดังนี้
• วรรณะพราหมณ์ เป็นวรรณะที่มีสถานะสูงที่สุดในสังคม กลุ่มคนพวกนี้ได้แก่
นักบวช ปุโรหิต นักปราชญ์ อาจารย์ และพราหมณ์ กลุ่มคนเหล่านี้เป็นพวกอุทิศตนเองให้กับ
ิ
ศาสนา เป็นผู้สงวนรักษา เป็นผู้สืบศาสนา และเป็นผู้ประกอบพธีกรรมทางศาสนา พราหมณ์
หรือนักบวชซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ทรงศีลจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
ั
• วรรณะกษตริย์ หน้าที่ของวรรณะกษัตริย์ คือ การป้องกันบ้านเมืองในยาม
สงคราม ตลอดจนปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุขในยามสงบ คนกลุ่มนี้ได้แก่ กษัตริย์
เจ้าหน้าที่ราชการและกลุ่มนักรบ
• วรรณะแพศย์ เป็นกลุ่มชนชั้นกลางในสังคม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการค้าขาย
การทำเกษตรกรรม เลี้ยงดูปศุสัตว์ และเป็นช่างฝีมือ แพศย์ถือเป็นผู้ที่กุมเศรษฐกิจของประเทศ
เนื่องจากเป็นผู้ผลิตอาหารและหารายได้ให้แก่สังคม นอกจากนี้ยังถือได้ว่าเป็นผู้ที่คอยจุนเจือ
วรรณะพราหมณ์และกษัตริย์อีกด้วย เพราะต้องทำบุญแก่พราหมณ์และเสียภาษีอากรให้แก่
กษัตริย์
• วรรณะศูทร ถือเป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ไม่มีการยอมรับจากสังคม ไม่ได้รับ
อนุญาตให้เข้าเรียนหนังสือ พวกศูทรไม่มีสิทธิ์ในการศึกษาคัมภีร์พระเวท และมีสิทธิในการ
แต่งงานกันภายในวรรณะของตนเท่านั้น ศูทรต้องรับใช้ชนชั้นวรรณะเบื้องบนทั้งสาม อย่างไรก็ดี
หากไม่มีศูทรสังคมจะเจริญก้าวหน้าไปได้ยาก เพราะศูทรเปรียบเสมือนแรงงานหรือกรรมกรใน
ปัจจุบัน
นอกจากวรรณะหลัก 4 วรรณะข้างต้นแล้ว สังคมอินเดียยังมีการแบ่งชนชั้นย่อยๆลงไป
อีก คัมภีร์มนูศาสตร์ได้กล่าวถึงการแต่งงานในสังคมฮินดูไว้ 3 แบบดังต่อไปนี้
1. การแต่งงานที่สามีและภรรยาอยู่ในวรรณะเดียวกัน
2. การแต่งงานที่สามีอยู่ในวรรณะสูงกว่าภรรยา
3. การแต่งงานที่ภรรยาอยู่ในวรรณะสูงกว่าสามี
หลักการแต่งงาน 3 แบบเหล่านี้ได้มีการกำหนดวรรณะของผู้ที่เกิดมาอย่างหลากหลาย
แต่วรรณะที่น่าสงสารและเห็นใจที่สุดได้แก่ “จัณฑาล” ซึ่งเกิดจากบิดาอยู่ในวรรณะศูทร ส่วน
มารดาอยู่ในวรรณะพราหมณ์ พวกจัณฑาลเป็นผู้ที่ถูกเหยียดหยามมากที่สุดในสังคมฮินดู แม้แต่
เงาของคนกลุ่มนี้ยังถือว่าเป็นของสกปรกและมีมลทิน ดังนั้น จึงมักจะให้ทำงานที่ไม่บริสุทธิ์
สะอาด เช่น อาชีพขอทาน ตักอุจจาระ เอาซากศพไปทิ้ง หรือทำงานเย็บหนัง เป็นต้น พวก
จัณฑาลจะถูกจัดให้อยู่นอกวรรณะ และมักมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่าแตกต่างจากวรรณะ
อื่นๆ เวลาจะเดินทางไปไหนมาไหน จะต้องถือไม้เคาะไปตามทางเพื่อวรรณะอื่นจะได้หลบหลีก