Page 55 - 001
P. 55
44
ความคงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าในฐานะเป็นผู้ที่อยู่สูงสุดซึ่งเป็นประจักษ์พยานแห่งวิวัฒนาการของ
โลก แต่ว่าไม่ใช่เป็นผู้สร้างโลก
ทรรศนะที่ 4 : โยคะ ลัทธิโยคะถือหลักการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ กั้นกระแสจิตไว้ไม่ให้
่
ตกไปสู่อารมณ์ภายนอก หลักปฏิบัติของลัทธินี้คือ บริกรรมคำว่า “โอม” แล้วเพงจิตไปที่พระ
ื่
ื่
อิศวรแล้วกล่าวซ้ำๆ เพอให้เกิดความรู้ถึงสิ่งสูงสุดและเพอป้องกันอุปสรรคในการบำเพญโยคะ
็
ลัทธิโยคะถือว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นอารมณ์ที่สูงสุดที่จิตควรยึดมาเป็นอารมณ์ในการทำสมาธิ
ั
เนื่องจากพระองค์เป็นผู้สมบูรณ์พร้อม เป็นผู้ทรงอยู่ชั่วนิรันดร เป็นผู้คงอยู่ทุกที่ เป็นสัพพญญู
และเป็นผู้ปราศจากความบกพร่องใดๆ
ทรรศนะที่ 5 : มีมางสาหรือปูรวมีมางสา มีมางสาหมายถึงการพนิจพจารณา
ิ
ิ
ื่
สอบสวนพระเวท วัตถุประสงค์เดิมทีเดียวของลัทธิมีมางสาก็เพอป้องกันและให้ความเป็นธรรม
แก่การบำเพ็ญพธีกรรมทางคัมภีร์พระเวท เพื่อการนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาปรัชญาเข้ามา
ิ
ิ
สนับสนุนความคิดในทางโลก เพราะว่าพธีกรรมจำต้องอาศัยความเห็นของโลกสนับสนุน
มิฉะนั้นแล้วพิธีกรรมก็ไม่มั่นคงและไม่เป็นสถาบันที่แน่นอนได้
ทรรศนะที่ 6 : อุตตระมีมางสาหรือเวทานตะ เวทานตะหมายถึง “ความรู้ที่สูงสุด”
หรือ “ที่สุดของพระเวท” ลัทธินี้ค้นคว้าหาเหตุผลแห่งโลก พร้อมทั้งการตรัสรู้สภาพอาตมัน
อาตมันคือพรหม พรหมในลัทธิเวทานตะไม่มีตัวตนเป็นสภาวะ ลัทธิเวทานตะสอนว่าโลกนี้คือ
พรหม ทุกอย่างมาจากพรหมและทุกอย่างเป็นพรหม ดังนั้น ทุกคนจึงควรบูชาพรหมด้วยใจ
บริสุทธิ์
ชาวอินโด-อารยันในสมัยมหากาพย์
ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชาวอารยันในระหว่าง 3,250 – 2,850 ปีมาแล้วนี้
นักวิชาการได้อาศัยหลักฐานจากวรรณกรรมมหากาพย์ 2 เรื่อง คือ มหากาพย์มหาภารตะ (The
epic of Mahabharata) และมหากาพย์รามายณะ (The epic of Ramayana) วรรณกรรมทั้ง
2 เรื่องได้พรรณนาความเป็นอยู่ของชาวอารยันในช่วงที่มีการขยายตัว กล่าวถึงเรื่องการทำ
สงครามเพอแย่งชิงดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เป็นช่วงเวลาที่ชาวอารยันกำลังขยายอาณาเขตและ
ื่
สร้างความเป็นปึกแผ่น ถึงแม้ว่าวรรณกรรมดังกล่าวจะมีการแต่งเสริมเพิ่มเติมขึ้นอีกมากมายใน
ภายหลัง แต่เรื่องราวต่างๆก็มีเค้าโครงที่อยู่บนพนฐานของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น นัก
ื้
ประวัติศาสตร์จึงเรียกช่วงเวลานี้ว่า “สมัยมหากาพย์” (epic age) อย่างไรก็ดี แม้จะมีเรื่องเล่าที่
อยู่ในรูปแบบวรรณกรรมแล้ว แต่มีการจดบันทึกในภายหลัง ช่วงเวลานี้จึงยังถือว่าอยู่ใน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
1. องค์กรทางการเมือง ชาวอารยันในยุคนี้ได้ลงหลักปักฐานในอินเดียเป็นที่มั่นคงทาง
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียแล้ว และมีชาวอารยันบางกลุ่มบางเผ่าขยับต่อไปทาง
ตะวันออก เลยไปจนถึงเขตแม่น้ำคงคา และขยายไปจนถึงดินดอนสามเหลี่ยมในเบงกอล โดยแต่
ละเผ่าจะมีถิ่นที่อยู่เป็นสัดเป็นส่วนแน่นอนและจัดการขนานนามถิ่นที่อยู่ของตนตามชื่อเผ่า ใน