Page 54 - 001
P. 54

43


                   ยม เป็นต้น

                                 2.  เทพเจ้าบนอากาศ เช่น พระอินทร์ พระวายุ พระรุทระ พระมารุตะ
                   พระปรรชันยะ เป็นต้น
                                 3.  เทพเจ้าบนสวรรค์ เช่น พระวรุณะ พระสูรยะ พระวิษณุ มิตระ เทวีอุษา

                   เป็นต้น
                          ในบรรดาเทพเจ้าเหล่านี้ ผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ พระอินทร์ซึ่งเป็นเทพเจ้า

                   แห่งสงคราม พระวรุณเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตร ควบคุมระเบียบของจักรวาล คอยดูแลความ
                   ประพฤติของมนุษย์ ส่วนพระพฤหัสบดีเป็นเทพเจ้าแห่งวิชาความรู้ ชาวอารยันนิยมการ
                   ประกอบพธีกรรมและให้ความสำคัญกับพธีกรรมต่างๆ เพื่อให้เทพเจ้าทั้งหลายพอใจแล้วจึงจะ
                             ิ
                                                        ิ
                                                                                     ิ
                   บันดาลความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและส่วนรวม ทั้งนี้ในการประกอบพธีกรรมทางศาสนา
                   พราหมณ์จะเป็นผู้กระทำพิธี ดังนั้นพราหมณ์จึงกลายเป็นสมาชิกสำคัญของสังคม


                          ในการศึกษาคัมภีร์พระเวทซึ่งบรรจุเรื่องราวต่างๆไว้ เป็นต้นว่า บทสวดสรรเสริญพระผู้
                                                       ์
                                                                       ิ
                   เป็นเจ้า เพลงสวดเวลาบูชายัญ กฎเกณฑต่างๆที่เกี่ยวกับพธีบูชาเทพเจ้า เรื่องราวเกี่ยวกับเทพ
                   เจ้าและการอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากเทพเจ้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและเข้าใจ
                   เกี่ยวกับทรรศนะหรือลัทธิปรัชญา 6 ประการควบคู่ไปด้วย การศึกษาพระเวทจึงจะถือว่า

                   สมบูรณ์ ดังต่อไปนี้
                              ทรรศนะที่ 1 : นยานะ นยานะหมายถึงวิธีหรือกฎหมายแห่งการหาความจริงโดย
                   อาศัยหลักเหตุผล ลัทธินยานะจึงมุ่งค้นหาหลักความจริง โดยยึดเอาโมกษะ คือ ความหลุดพน
                                                                                                     ้
                   ทุกข์เป็นเป้าหมายสำคัญ
                              ทรรศนะที่ 2 : ไวเศษิกะ ลัทธินี้สอนว่าสากลโลกเกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งบุญและ

                   บาปที่มองไม่เห็นอันสืบเนื่องมาจากกรรมในภพก่อน บุคคลย่อมได้รับสุขหรือทุกข์ตามบุญหรือ
                                                        ้
                   บาปที่ตนได้กระทำไว้ การทำตนให้หลุดพนจากตัณหาและอวิชชาเป็นทางดับทุกข์ทั้งปวง ลัทธิ
                   ไวเศษิกะยอมรับว่าปรมาตมันคือวิญญาณยอดเยี่ยมสูงสุดอันเป็นบ่อเกิดของอาตมัน หรือชีวาต

                   มัน คือ วิญญาณของมนุษย์ ปรมาตมันเป็นอนันตะไม่มีที่สุด เป็นอนาทิไม่มีเบื้องต้น เป็นอมตะ
                   ปราศจากรูปร่าง และรับรองสรรพสัตว์อยู่ทั่วไป เป็นผู้แสดงโลกให้ปรากฏ เมื่อบุคคลปฏิบัติ

                   เข้าถึงปรมาตมันโดยมีใจบริสุทธิ์จนเกิดญาณตรัสรู้ปรมาตมันแล้ว ก็ถึงโมกษะ คือความพ้นทุกข์
                                                                             11
                   ดับตัณหาและอวิชชาไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป
                              ทรรศนะที่ 3 : สางขยะ เป็นปรัชญาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุด และนับเป็นครั้งแรกที่ได้มี

                   ความพยายามทำให้ปรัชญาของพระเวทกลมกลืนกับเหตุผล ความมุ่งหมายของลัทธิสางขยะคือ
                   สร้างปัญญาให้เกิด เพื่อทำลายล้างเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง และปลดเปลื้องจิตหรืออาตมันออกจาก

                   สิ่งผูกพัน ตามความเห็นของลัทธิสางขยะเชื่อว่าความมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่สามารถจะทน
                           ิ
                   แค่การพสูจน์ได้ ไม่ว่าในวิธีใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยอมรับ
                   คำอธิบายว่าพระผู้เป็นเจ้าเกี่ยวข้องกับการเกิดโลกนี้อย่างไร กล่าวโดยสรุปคือลัทธินี้ยอมรับ




                          11  ดนัย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, หน้า 67.
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59