Page 58 - 001
P. 58
47
ไม่เจอหน้า วรรณะจัณฑาลจึงเป็นชนชั้นที่มีฐานะยากจน อีกทั้งยังถูกจำกัดขอบเขตและขาด
เสรีภาพในการที่จะไปแหล่งต่างๆอีกด้วย
ฐานะของผู้หญิง ในสมัยนี้ฐานะของผู้หญิงเสื่อมลงอย่างมาก ผู้หญิงสมัยมหากาพย์
ื่
ไม่ได้รับการยกย่องและมีเกียรติทางสังคมเหมือนผู้หญิงในยุคพระเวท ผู้หญิงต้องอยู่บ้านเพอ
บริการให้เกิดความสะดวกสบายทุกอย่างแก่สมาชิกครอบครัว ต้องทำงานแบ่งเบาภาระของสามี
ครึ่งหนึ่ง และต้องช่วยทำงานของสามีให้สมบูรณ์ อย่างไรก็ดี แม้ฐานะโดยทั่วไปของผู้หญิงจะ
เสื่อมลง แต่ก็ยังได้รับการรักษาฐานะแห่งความเป็นนักปราชญ์ เห็นได้จากผู้หญิงมีส่วนร่วมใน
การอภิปรายปัญหาปรัชญาทั้งปวงได้เป็นอย่างดี
ิ
การศึกษา เด็กผู้ชายเริ่มต้นการศึกษาจากการเป็นพรหมจารีโดยเข้าพธีอุปนัยยะ
ิ
คำว่า”อุปนัยยะ” แปลว่า “เข้าไปสู่ความรู้” ผู้ที่ผ่านพธีนี้แล้วได้ชื่อว่าเป็นทวิชาติ หรือผู้เกิด 2
ิ
ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เกิดจากครรภ์มารดา ครั้งที่ 2 เกิดผ่านพธีอุปนัยยะ ถือเป็นการกำเนิดในโลก
ใหม่ในหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความหวังและความเป็นอารยะอันสมบูรณ์ ผู้ที่มีสิทธิเข้าพธี
ิ
อุปนัยยะได้แก่บุคคล 3 วรรณะ คือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์และวรรณะแพศย์ ส่วน
วรรณะศูทรไม่มีสิทธิ
พรหมจารีจะอยู่กับคุรุในอาศรมของคุรุ และจะได้รับการฝึกอบรมทางศีลธรรมและ
สติปัญญาโดยการอยู่ร่วมกันกับคุรุเสมอ วิชาสำคัญในการสอนเป็นคัมภีร์พระเวท นอกจาก
คัมภีร์พระเวทแล้วมีคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ การศึกษา
ภาษาและไวยากรณ์มีความเข้มงวดมาก หลังจากจบการศึกษาบิดามารดาของพรหมจารีจ่ายเงิน
เป็นสมนาคุณตอบแทน
4. ความเชื่อทางศาสนา ในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านความเชื่อทาง
ศาสนา คือ เทพเจ้าในสมัยพระเวทคลายความสำคัญลงไปมาก เทพเจ้าที่สำคัญในยุคมหากาพย ์
ได้แก่ พระพรหม พระอิศวรหรือพระศิวะ และพระนารายณ์หรือพระวิษณุ เทพเจ้าทั้ง 3 องค์
14
เหล่านี้รวมกันเรียกว่า “ตรีมูรติ” สำหรับผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีทางศาสนา คือ
พระ หรือ พราหมณ์ ซึ่งส่งผลให้พราหมณ์มีความสำคัญมาก เพราะเป็นบุคคลที่รู้เวทมนต์คาถา
มีอำนาจลึกลับและเป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ พวกพราหมณ์มีอำนาจและอิทธิพล
มากขึ้นในวงการต่างๆ เพราะการประกอบพธีกรรมต้องอาศัยพราหมณ์ ประชาชนทุกวรรณะ
ิ
ยอมรับประกาศิตของพราหมณ์ ทำให้พราหมณ์มีอำนาจสูงสุดยิ่งกว่าวรรณะกษัตริย์ ดังนั้น
ศาสนาของชาวอารยันในสมัยนี้จึงเรียกว่า “ศาสนาพราหมณ์” ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็น “ศาสนา
ฮินดู” ในยุคต่อมา
14 ดนัย ไชยโยธา. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ยุคโบราณ, หน้า 116.