Page 62 - 001
P. 62

51





                                                    2
                   ใต้ กับ วฑกไล ซึ่งเป็นนิกายฝ่ายเหนือ  นอกจากนี้ยังแตกแยกออก เป็นนิกายย่อยอีก 3 นิกาย
                   คือ
                                 2.1 นิกายรามานุช มีสัญลักษณ์คือ มีดิลกและเครื่องหมายเป็นขีดเส้นสีขาว 2
                   เส้นที่หน้าผาก โดยขีดจากตีนผมลงมาจรดคิ้ว และมีเส้นขาวที่ดั้งจมูก

                                 2.2 นิกายมาธวะ มีความเชื่อว่า สิ่งที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงย่อมเป็นไปไม่ได้
                   เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีแหล่งกำเนิดของมัน

                                 2.3 นิกายวัลลภะ นิกายนี้เขียนหน้าผากเป็น 4 แบบ คือ 1) ขีดเส้นคู่ 2 ข้าง
                   แต้มจุดหรือดิลกตรงกลาง 2) เขียนเป็นรูปเกือกม้า แต้มดิลกไว้ตรงกลาง 3) เขียนเป็นรูปเกือก
                   ม้าและขีดเส้นตรงเส้นหนึ่งตรงกลาง  4) เขียนเป็นรูปไข่


                          นอกจาก 2 นิกายหลักๆแล้ว ยังมีลัทธิอื่นๆที่ได้รับความนิยม เป็นต้นว่า ลัทธิศักติ ซึ่ง

                   เป็นลัทธิบูชาพระแม่ สัญลักษณ์ของผู้ให้กำเนิด อันเป็นความเชื่อที่สามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัย
                                                                                      ี
                   อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เมื่อถูกนำเข้ามาผนวกกับศาสนาฮินดู จึงถือว่าเทพเป็นอิตถีพละของ
                                                ี
                   เทพ (กำลังฝ่ายหญิง) ทำให้เทพมีอำนาจมาก ส่วนลัทธิเสาระ (บูชาพระอาทิตย์) และลัทธิ
                   คาณปัตยะ (บูชาพระคเณศ) ก็ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางเช่นเดียวกัน


                          ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 4 ว่า ในหลังสมัยมหากาพย์เป็นต้นมา ศาสนาพราหมณ์ได้
                   หยั่งรากลึกลงและแพร่หลายไปทั่วอินเดีย พวกพราหมณ์มีอำนาจมาก ภาษาสันสกฤตกลายเป็น
                   ภาษาชั้นสูง คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ สามารถอธิบายให้เห็นถึงอิทธิพลของ

                   ศาสนาพราหมณ์ต่อสังคมอินเดียได้ดังต่อไปนี้
                          1. ทางด้านเศรษฐกิจ พวกพราหมณ์หรือนักบวชพยายามกุมอำนาจทางเศรษฐกิจด้วย

                                        ิ
                                                                     ิ
                   การเน้นความสำคัญที่พธีกรรม จากเดิมที่มีการกำหนดพธีกรรมเป็นแบบง่ายๆให้สลับซับซ้อน
                                                           ิ
                            ิ
                   ยิ่งขึ้น มีพธีรีตองมากขึ้น ซึ่งในการประกอบพธีกรรมดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทองเป็น
                                                        ิ
                   จำนวนมาก เพราะต้องมีการประกอบพธีบูชายัญ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการประกอบ
                   พธีกรรม คือ พวกพราหมณ์ เพราะพวกพราหมณ์จะอ้างว่า ตนเป็นพวกเดียวที่สามารถติดต่อ
                    ิ
                   กับพระผู้เป็นเจ้าและรู้พระทัยพระผู้เป็นเจ้า พราหมณ์จึงมีอำนาจมากมาย วรรณะที่ได้รับ
                   ผลกระทบเป็นอย่างมากคือ กษัตริย์ เพราะต้องมีการประกอบพธีทางศาสนาทั้งก่อนออก
                                                                              ิ
                                                               ิ
                   สงครามและหลังการออกสงคราม การประกอบพธีกรรมเช่นนี้ ทำให้ภาวะทางเศรษฐกิจของ
                   วรรณะกษัตริย์คลอนแคลนเป็นอย่างมาก
                          สำหรับวรรณะแพศย์ ซึ่งได้แก่พอค้าและกสิกรก็ได้รับผลกระทบมากเช่นเดียวกัน
                                                        ่
                                                                            ื่
                   เพราะพวกพอค้าจำเป็นที่จะต้องประกอบพธีกรรมทางศาสนาเพอให้พระเจ้าโปรดปราน และ
                                                         ิ
                              ่
                   จะได้ไม่นำภัยพิบัติหรือความไม่อำนวยโชคในทางการค้ามาสู่พวกเขาได้

                          2  สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). ประวัติศาสตร์ศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมสาส์น, หน้า 288.
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67