Page 52 - 001
P. 52

41


                   การตอบแทนในเรื่องนี้ ประชาชนจึงให้ความเคารพและให้เครื่องบรรณาการตามความสมัครใจ

                   แก่กษัตริย์ กษัตริย์ไม่มีอำนาจในการเรียกส่วยอากรหรือมีสิทธิ์เหนือที่ดินใดๆทั้งสิ้น สถานภาพ
                   ของกษัตริย์ในสมัยนี้ยังไม่เป็นสมมติเทพ ยังคงมีความผูกพันใกล้ชิดกับลูกเผ่า ในขณะที่บทบาท
                   ทางศาสนามีน้อยมาก เนื่องจากมีพระหรือนักบวชทำหน้าที่นี้เป็นส่วนใหญ่ ภายหลังสถานภาพ

                   ของกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีแนวคิดที่จะยกย่องกษัตริย์เป็นสมมติเทพ จึงเกิดพิธีกรรมต่างๆ
                   เพื่อทำให้ตำแหน่งกษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงเทพเจ้า โดยมีพระเป็นผู้ประกอบพิธี เพราะเชื่อ

                                                                              ั
                   กันว่าพระเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์และพระผู้เป็นเจ้า ความสัมพนธ์ระหว่างกษัตริย์และพระ
                                                                                                 6
                   จึงใกล้ชิดกันมากขึ้น ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนค่อยๆห่างออกไป


                          1.  อาชีพและเศรษฐกิจ พวกอารยันแต่เดิมเป็นพวกเร่ร่อนกึ่งเลี้ยงสัตว์ ระบบ
                   เศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับการทำปศุสัตว์ โดยเฉพาะวัวและแกะ วัวถือว่าเป็นสมบัติอันมีค่า พวกอิน

                   โด-อารยันใช้วัวเป็นเครื่องวัดความแตกต่างทางฐานะ ใครมีวัวมากแสดงว่าฐานะดี วัวตัวเมียถือ
                   ว่าเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ประชาชนจะไม่ฆ่าวัวตัวเมีย อีกทั้งยังใช้เป็นสื่อกลางในการ
                   แลกเปลี่ยนด้วย สัตว์เลี้ยงที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ ม้า เพื่อใช้ในการทำศึกสงคราม

                          เมื่ออารยันได้เข้ามาตั้งรกรากในอินเดียเรียบร้อยแล้ว ลักษณะทางเศรษฐกิจของพวกเขา
                   ก็เปลี่ยนไป จากที่เน้นการทำปศุสัตว์มาเป็นการทำเกษตรกรรมเป็นหลัก ชาวอารยันรู้จักการ

                   ชลประทานทดน้ำ ปลูกข้าวบาเล่ย์ ข้าวสาลี และพืชจำพวกถั่วต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการล่าสัตว์
                   เพื่อนำมาประกอบอาหารอีกด้วย
                          เมื่ออยู่ติดที่กันมากขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองมาเป็นเกษตรกร ชาว

                   อารยันจึงมีเวลาว่างมากขึ้น ก่อให้เกิดการประกอบอาชีพอื่นตามความถนัดในเวลาต่อมา เป็น
                   ต้นว่า ช่างทองแดง ช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างรองเท้า ช่างปั้นหม้อ ส่วนผู้หญิงมีการเย็บผ้า ถักเสื้อ

                   จากหญ้าต้นกกหรือต้นอ้อ
                          เมื่อการทำเกษตรกรรมประสบความสำเร็จ มีผลผลิตเกินความต้องการ การค้าขายจึง
                   ตามมา โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำคงคาที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมเพอการค้า ชุมนุมชนใหญ่ๆที่
                                                                              ื่
                   เกิดขึ้นบนริมฝั่งแม่น้ำคงคาได้กลายเป็นตลาดการค้า ในระยะแรกๆ ดำเนินการค้ากันในท้องถิ่น
                   นอกจากสินค้าทางการเกษตร สินค้าที่สำคัญในยุคนี้อีกประเภทหนึ่งคือ ผ้าและสินค้าที่ทำจาก

                   ขนสัตว์ ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการทอผ้ารุ่งเรืองมาตั้งแต่ยุคพระเวทแล้ว

                          2.  โครงสร้างทางสังคม เมื่อชาวอารยันเข้ามาในอินเดียระยะแรก ได้มีการแบ่งคนใน

                   สังคมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ นักรบ นักบวช และสามัญชน ยังไม่มีระบบวรรณะ รวมถึงยังไม่มี
                   กฎเกณฑควบคุมการแต่งงานระหว่างชนชั้น และกฎเกณฑเกี่ยวกับการประกอบอาชีพตามการ
                                                                      ์
                           ์
                   สืบสกุล ดังนั้น การแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่มในระยะแรกๆ จึงเป็นการจัดกลุ่มชนทางสังคมและ
                   เศรษฐกิจอย่างง่ายๆ
                                     7

                          6  ศรีสุพร ช่วงสกุล. (2543). อารยธรรมยุคใหม่ : Modern Civilization. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
                   หาดใหญ่, หน้า 27.
                                                   ์
                          7  ดนัย ไชยโยธา. (2527). ประวัติศาสตรเอเชียใต้ยุคโบราณ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, หน้า 51.
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57