Page 60 - 001
P. 60
49
พรหมันเท่านั้น
2. วิญญาณทั้งหลายเกิดมาจากพรหมัน แล้วถือกำเนิดเรื่อยไปเพราะกรรม จนกว่าจะ
บรรลุความหลุดพ้นหรือโมกษะ ซึ่งเป็นการกลับไปสู่พรหมันนั่นเอง
3. ถ้าปรารถนาจะเข้าถึงความหลุดพ้น ต้องละทิ้งการดำเนินชีวิตแบบชาวบ้านออกไป
อยู่ป่าเป็นนักบวช
4. คติเรื่องการสร้างโลก และการสร้างโลกใหม่ของพระเจ้า เพื่อทำลายระบบการเวียน
ว่ายตายเกิดของวิญญาณทั้งหลาย เมื่อสร้างโลกใหม่ ธาตุต่างๆก็ชุมนุมกันขึ้นใหม่ วิญญาณ
ทั้งหลายซึ่งกลับไปรวมกับพรหมัน ก็จะออกจากพรหมันมาเกิดเป็นสัตว์โลกอีกเป็นการเริ่มระบบ
ใหม่
ิ่
นอกจากจะมีแนวคิดทางปรัชญาเพมเข้ามาแล้ว ศาสนาฮินดูยังมีวิวัฒนาการเกี่ยวกับ
การนับถือเทพเจ้าด้วย กล่าวคือ เทพเจ้าในระยะที่ยังเป็นศาสนาพราหมณ์นั้นมีหลายองค์ โดย
แต่ละองค์มีบทบาทที่แตกต่างกันไป ครั้นเมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มเทพเจ้าซึ่งเคยเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่ก็
ถูกลดความสำคัญลงมากในศาสนาฮินดู ทั้งนี้ในศาสนาฮินดูให้ความสำคัญกับ “ตรีมูรติ” หรือ
เทพเจ้า 3 องค์ ได้แก่ พระพรหมหรือพระผู้สร้าง พระนารายณ์หรือพระวิษณุซึ่งเป็นเทพแห่ง
การปกปักรักษา และพระอิศวรหรือพระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการทำลาย ต่อมาได้มีการแบ่ง
การนับถือเทพเจ้าเป็นนิกายต่างๆ โดยแต่ละนิกายจะให้ความสำคัญกับเทพเจ้าแต่ละองค์
แตกต่างกัน นิกายหลักๆจะมีอยู่ 2 นิกายได้แก่
1. ไศวนิกาย นิกายนี้ให้ความสำคัญกับการนับถือพระศิวะ ถือว่าพระศิวะเป็นผู้สร้าง
โลก เป็นแก่นแท้ของจักรวาล นับถือและบูชาศิวลึงค์หรือเครื่องหมายบุรุษเพศเป็นเครื่องแทน
องค์พระศิวะในฐานะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง สัญลักษณ์ของคนที่นับถือนิกายนี้ จะใช้ขี้เถ้า
ของขี้วัวเขียนหน้าผากเป็นเส้นและดิลก (จุด) 4 แบบ ได้แก่ 1) ขีดเส้นที่หน้าผาก 2 ขีด แต้ม
ดิลกข้างใต้ 2) ขีดเส้น 3 ขีด แต้มดิลกใหญ่ตรงกลาง 3) เขียนเป็นรูปสี่เหลี่ยม 4) เขียนเป็นรูป
1
พระจันทร์ครึ่งเสี้ยวแต้มดิลกตรงกลาง
ี
1 เมธา เมธาวิทยกุล. (2525). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดยนสโตร์, หน้า 187.