Page 50 - 001
P. 50
39
ดังนั้น คัมภีร์พระเวทจึงไม่ใช่วรรณกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาเท่านั้น หากแต่ยังเป็น
บันทึกทางประวัติศาสตร์ เป็นที่มาของความรุ่งเรืองของภาษาสันสกฤต รวมทั้งยังมีอิทธิพลต่อ
ภูมิปัญญาตลอดจนการสร้างสรรค์ทางศิลปะสาขาต่างๆ ในอารยธรรมอินเดียที่ยังคงสืบทอดมา
จนถึงทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่าส่วนที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งหมดมีพื้นฐานมาจากคัมภีร์
3
พระเวทนั่นเอง
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าคัมภีร์พระเวทเป็นเรื่องของการสืบทอดโดยวาจามาเป็นเวลานาน
ก่อนที่จะมีการบันทึกลายลักษณ์อักษร อีกทั้งคัมภีร์พระเวทไม่ได้แต่งขึ้นพร้อมกันทั้งหมด ซึ่ง
ิ่
เมื่อเวลาผ่านไปคัมภีร์พระเวทก็ได้รับการแต่งเพมเติมมากขึ้น โดยคัมภีร์พระเวทในส่วนสุดท้าย
ได้แก่ คัมภีร์อุปนิษัท ที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงราว 2,600 ปีมาแล้ว ทั้งนี้คัมภีร์พระเวทประกอบไป
ด้วย 4 หมวด ได้แก่
1. ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด ประกอบไปด้วยบทสวดต่างๆ แต่งเป็นคำฉันท์ที่วาง
ื่
กฎเกณฑท่วงทำนองคำสวดไว้ตายตัว เพอสวดบูชาสรรเสริญเทพเจ้า อีกทั้งยังมีเรื่องวรรณคดี
์
และการปกครองรวมอยู่ด้วย
2. ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่ใช้ในการพิธีบูชายัญ เขียนเป็นบทร้อยแก้ว ให้ความรู้เกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและสังคม
3. สามเวท เป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่มาจากฤคเวท นำมาทำบทร้องและบทสวด
ในพิธีต่างๆ
4. อาถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่รวมเรื่องโชคลางของขลังและเวทมนตร์ต่างๆ นักวิชาการ
บางท่านไม่ยอมรับว่าอาถรรพเวทเป็นพระเวทหนึ่งเหมือนกัน เพราะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
ทำพิธีบูชายัญแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ในคัมภีร์พระเวทแต่ละหมวดยังประกอบไปด้วยส่วนของคัมภีร์ 4 ตอน ซึ่ง
แต่ละตอนก็ไม่ได้เรียบเรียงขึ้นพร้อมกัน ได้แก่
4
1. สัมหิตา เป็นที่รวมบทสดุดีเทพเจ้า บทสวดขับร้อง มนต์หรือคาถา และสูตรสำหรับ
ใช้ในพิธีบูชายัญ
2. พราหมณะ เป็นส่วนที่อธิบายความหมายของสัมหิตา กล่าวคือ อธิบายบทสดุดีเทพ
ิ
เจ้า โดยบัญญัติว่าบทสดุดีใดควรใช้ในที่ใด รวมทั้งอธิบายถึงระเบียบในการประกอบพธีกรรม
และความหมายของพิธีบูชายัญ
3. อารัญยกะ เป็นส่วนที่เริ่มต้นแนวความคิดทางปรัชญาของคัมภีร์พระเวท
4. อุปนิษัท เป็นส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังสุด เป็นตอนสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท ว่าด้วย
เรื่องความนึกคิดทางปรัชญาซึ่งอธิบายเกี่ยวกับ “วิญญาณ” หรือ “อาตมัน” เรื่องพระเจ้า เรื่อง
โลก และเรื่องมนุษย์
์
3 สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณและศุภวรรณ ชวรัตนวงศ. (2551). อินเดีย : อดีต-ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หน้า 46-47.
4 สาวิตรี เจริญพงศ. (2544). ภารตยะ : อารยธรรมอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงหลังได้รับเอกราช. กรุงเทพฯ: โครงการ
์
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 49-50.