Page 167 - 001
P. 167

156


                   อย่างไรก็ดี กองทัพมุสลิมในเวลานั้นไม่สามารถรุกคืบเข้าสู่ประเทศอินเดียตอนในได้ ซึ่งเหตุผลที่

                   สำคัญ คือ ความเข้มแข็งของพวกราชปุตทางตอนเหนือและตะวันออก และในช่วงปี พ.ศ. 1293
                   (ค.ศ. 750) ทางอาณาจักรอาหรับคือ ราชวงศ์อุมัยยะห์ (Umayyad) สิ้นสุดอำนาจลง และ
                   ราชวงศ์อับบาซิยะห์ (Abbasid) ขึ้นมาแทนที่ ทำให้ข้าราชการอาหรับซึ่งดูแลแคว้นสินธุ์อยู่เกิด

                   การขัดแย้งกันขึ้น ประกอบกับการที่อาหรับไม่ได้มีอำนาจมากพอในการที่จะควบคุมแคว้นสินธุ์
                   ไว้ได้ อย่างไรก็ดี แม้อาหรับจะไม่สามารถขยายดินแดนเข้ามาทางตอนในของอินเดียได้ แต่

                                       ื้
                   อาหรับก็ครอบครองพนที่แคว้นสินธุ์ไว้ได้เป็นเวลากว่า 300 ปี (พ.ศ. 1254-1568 ; ค.ศ. 711-
                   1025) ก่อนที่จะถูกมาห์มุดแห่งฆัชนี (Mahmud of Ghazni) ราชวงศ์เตอร์กยึดครองได้ในเวลา
                                                                 ื้
                   ต่อมา อนึ่งในช่วงเวลาที่อาหรับเข้ามาครอบครองพนที่ทางตอนเหนือของอินเดียนั้น อิทธิพล
                   วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามาน้อยมาก ชาวอาหรับกลับเป็นฝ่ายเรียนรู้วัฒนธรรมฮินดู ไม่ว่าจะเป็นงาน
                   ศิลปกรรม ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวรรณกรรม


                   การรุกรานอินเดียของมุสลิม-เตอร์ก
                                                   2
                          การเข้ามาของราชวงศ์เตอร์ก ถือเป็นการสถาปนาศาสนาอิสลามในอินเดียอย่างแท้จริง

                   เพราะแม้ที่ผ่านมา อาหรับจะสามารถเข้ายึดครองส่วนหนึ่งอินเดียไว้ได้ แต่ก็ไม่ได้มีการบังคับ
                   หรือลงโทษกับผู้ต่างศาสนาแต่อย่างใด อิสลามได้เข้ามาอย่างสงบ และได้รับการยอมรับว่าเป็น

                   ลัทธิหนึ่งท่ามกลางลัทธิจำนวนมากของอินเดีย ซึ่งแตกต่างจากราชวงศ์เตอร์ก ซึ่งได้นำศาสนา
                   อิสลามมาพร้อมกับการทหาร อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในสังคมอินเดีย
                   ดังจะกล่าวถึงต่อไป

                          ตั้งแต่ในราวพ.ศ. 1543 (ค.ศ. 1000) เป็นต้นไป พื้นที่ที่เคยเป็นอาณาจักรกาบุล จาบุล
                   และแคว้นสินธุ์ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียถูกกองทัพของเตอร์กซึ่งนำโดยมาห์มุด

                                         3
                   สุลต่านผู้ครองเมืองฆัชนี เข้ายึดครอง นักวิชาการประเมินว่าเหตุผลหลักที่มาห์มุดตัดสินใจเข้า
                   มารุกรานอินเดียมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ  ได้แก่ 1) ความต้องการที่จะปล้นสะดมทรัพย์สมบัติ
                                                       4
                   ของอินเดีย และ 2) ความต้องการชื่อเสียงและเกียรติยศในโลกอิสลามโดยการทำลายศาสน

                   สถานของผู้ต่างศาสนา กองทัพของมาห์มุดสามารถยึดเมืองลาฮอร์ (Lahore) ในปัญจาบ แคว้น
                   สินธุ์ และมุลตัน (Multan) ให้เข้ามารวมอยู่ในอาณาจักรฆัชนาวิด (Ghaznavid Empire) ได้ใน

                                ิ
                                                                   ื้
                                                                                            ี
                   ที่สุด ซึ่งหากพจารณาในทางการเมืองแล้วจะเห็นว่า พนที่ที่เตอร์กได้ไปนั้นเป็นเพยงส่วนหนึ่ง
                   ทางภาคเหนือของอินเดียเท่านั้น ในขณะที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และ
                   ภาคใต้ ยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
                          อย่างไรก็ดี กองทัพของเตอร์กยังได้ไปโจมตีเมืองต่างๆ เช่น แถบคุชราต เมืองมถุรา
                   และกาโนช ซึ่งถือเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สำคัญของชาวอินเดีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อปล้นทรัพย์

                   สมบัติและสิ่งของมีค่าเพื่อขนกลับสู่มาตุภูมิเท่านั้น เนื่องจากทุกครั้งที่มีการโจมตีเสร็จ มาห์มุดก็

                          2  ชนเชื้อสายเตอร์ก เดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่ใช้ภาษาเตอร์กิค (Turkic) อยู่ในแถบเอเชียกลาง ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่
                   11-12 (คริสต์ศตวรรษที่ 6) ได้อพยพไปอยู่ในดินแดนต่างๆ และหันมานับถือศาสนาอิสลาม และถือเป็นผู้ยึดมั่นในศาสนาอิสลามไม่แพ้
                   ชาวอาหรับซึ่งเป็นต้นกำเนิด
                          3  ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน
                          4  Burjor Avari. (2013). Islamic Civilization in South Asia. New York: Routledge, p. 40.
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172