Page 169 - 001
P. 169

158


                   จำนวนมาก 2) การบำเรอรูปแบบการใช้ชีวิตที่หรูหราของราชสำนักและเหล่าขุนนาง และ 3)

                   โครงการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ทั้งที่เมืองฆัชนีและลาฮอร์ ทั้งนี้งบประมาณที่ต้องนำมาใช้ใน
                   เรื่องต่างๆดังกล่าวมาจากหลายแหล่งด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาษี ทั้งนี้ดินแดนขนาดใหญ่
                   ของฆัชนาวิดเป็นแหล่งเกษตรกรรมและการทำปศุสัตว์ ดังนั้น จึงสามารถเก็บภาษีที่ได้จาก

                   ผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีภาษีที่มาในรูปของเครื่องบรรณาการจากผู้ปกครอง
                   ดินแดนต่างๆที่ยอมสวามิภักดิ์ รวมไปถึงทาส ซึ่งถือเป็นแรงงานราคาถูก สิ่งที่น่าสนใจคือ

                   กษัตริย์จะเป็นผู้พระราชทานที่ดินให้กับข้าราชการ  โดยที่ข้าราชการสามารถนำที่ดินเหล่านั้นไป
                   ใช้หาประโยชน์ต่างๆได้ แต่เมื่อข้าราชการผู้นั้นเสียชีวิตลง ที่ดินจะกลับคืนสู่รัฐโดยที่ไม่สืบต่อ
                   เป็นมรดก ทรัพย์สินที่ตกไปเป็นของรัฐนี้ไม่ได้มีแค่ที่ดินเท่านั้น กษัตริย์จึงสามารถเพมพูนความ
                                                                                             ิ่
                   มั่งคั่งของตนเองอย่างต่อเนื่องได้ด้วยวิธีการดังกล่าว
                          ส่วนนโยบายด้านศาสนานั้น ราชวงศ์ฆัชนาวิดและมุสลิมเตอร์กส่วนใหญ่นับถือศาสนา

                   อิสลาม นิกายซุนนี (Sunnis) และเป็นมุสลิมที่มีความเคร่งครัดมาก ดังนั้นจึงปฏิเสธรูปเคารพทุก
                   ประเภท ในขณะที่ชาวฮินดูผู้นับถือเทพเจ้าในอินเดีย รูปเคารพต่างๆที่สร้างขึ้นในศาสนสถาน
                   เป็นเสมือนเทพเจ้าที่มีลมหายใจ ประติมากรรมและจิตรกรรมเนื่องในศาสนาเป็นตัวแทนของ

                   การแสดงออกถึงความเคร่งครัดในศาสนาและความจงรักภักดีที่มีต่อเทพเจ้าของพวกเขา
                          อย่างไรก็ดี ทัศนคติในเรื่องการปฏิเสธรูปเคารพของมุสลิม-เตอร์ก ทำให้เมื่อยกทัพเข้า

                   มารุกรานอินเดียก็ได้ทำลายศาสนสถานรวมถึงรูปเคารพในศาสนาฮินดู พุทธ และเชนลงไปเป็น
                   จำนวนมาก แต่แม้จะกระทำการรุนแรงเช่นนั้น แต่ทั้งราชวงศ์ฆัชนาวิดและฆูริดก็ไม่ได้รังเกียจ
                   ชาวอินเดียแต่อย่างใด เนื่องจากพบว่ามีการจ้างชาวอินเดียเข้าทำงานเป็นข้าราชการในตำแหน่ง

                   ต่างๆ อนึ่ง ในช่วงระยะเวลานี้ยังไม่มีความพยายามที่จะบังคับให้ชาวอินเดียเปลี่ยนไปนับถือ
                   ศาสนาอิสลาม การปรับเปลี่ยนศาสนาไปสู่อิสลามครั้งใหญ่ในบริเวณภาคเหนือของอินเดียนั้น

                   เกิดขึ้นภายหลังพทธศตวรรษที่ 19 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13) หรือที่เรียกว่าสมัยสุลต่านแห่ง
                                   ุ
                   เดลี


                   สุลต่านแห่งเดลี (พ.ศ. 1749- 2069 ; ค.ศ. 1206-1526)
                          สมัยนี้มีราชวงศ์ที่ปกครองอินเดียทั้งสิ้น 5 ราชวงศ์ แต่มีราชวงศ์ที่สำคัญเพยง 3
                                                                                                 ี
                   ราชวงศ์เท่านั้น คือ ราชวงศ์ทาส (Slave Dynasty: พ.ศ. 1749-1833 ; ค.ศ.1206-1290)
                   ราชวงศ์คัลจิ (Khaljis Dynasty : พ.ศ.1833-1863 ; ค.ศ. 1290-1320) และราชวงศ์ตุกห์ลัก
                   (Tughlugs Dynasty: พ.ศ. 1864-1956; ค.ศ. 1321-1413)  ช่วงเวลาของสุลต่านแห่งเดลี เป็น

                   ช่วงที่มุสลิม-เตอร์กมีอำนาจขึ้นในบริเวณภาคเหนือของอินเดีย และในยุคที่รุ่งเรืองที่สุด อาณา
                   เขตของพวกเขาได้ขยายลงไปถึงทางใต้ด้วย

                          • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ เมื่อมูหะหมัดแห่งราชวงศ์ฆูริดสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.
                   1749 (ค.ศ. 1206) กุตาบ-อุด-ดิน ไอบาค (Qutb ud-Din Aybeg) นายพลคนสำคัญได้รับการ
                   สถาปนาขึ้นเป็นสุลต่านคนต่อไป และเป็นสุลต่านคนแรกในราชวงศ์ทาส (Slave Dynasty) โดย

                   มีผู้สืบทอดคือ บุตรชายของเขา และนายพลแชม อุด-ดิน อิลตุตมิช (Shams ud-Din
                   Iltutmish) ตามลำดับ เมื่อสุลต่านอิลตุตมิชได้ขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1754 – 1779 ; ค.ศ.1211
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174