Page 163 - 001
P. 163
152
สรุปลักษณะสำคัญที่เกิดขึ้นในอินเดียยุคกลาง (พุทธศตวรรษที่ 12-18)
1. การบริหารจัดการ อินเดียในช่วงเวลานี้ รัฐที่มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ
ไม่ปรากฏอีกต่อไปแล้ว มีเพียงรัฐในระบบกษัตริย์อยู่ทั่วทุกภูมิภาคของอินเดีย อย่างไรก็ดี เป็นที่
น่าสังเกตว่า ไม่มีกษัตริย์ในอาณาจักรใดเลยที่จะสามารถรวมอินเดียเป็นหนึ่งเดียวได้ดังที่เคย
ื้
ผ่านมาในอดีต โดยราชวงศ์โมริยะเป็นราชวงศ์เดียวที่ประสพความสำเร็จในการรวมพนที่อัน
กว้างใหญ่ไพศาลของอินเดีย (ยกเว้นอินเดียใต้ไกล) หลังจากนั้น แม้จะมีความพยายามของ
กษัตริย์ในราชวงศ์ต่างๆ เช่น คุปตะ หรรษะ ปาละ หรือคุรชระ-ประติหาระ แต่ก็ไม่สามารถทำ
ได้ดังเช่นราชวงศ์โมริยะ ถึงกระนั้น ยังพอมองเห็นได้ว่ามโนคติเกี่ยวกับการปกครองดินแดนอัน
กว้างใหญ่โดยจักรพรรดิองค์เดียวยังคงมีอยู่ในผู้ปกครองทุกคน ดังนั้น ในสมัยยุคกลางนี้จึงเป็น
ช่วงเวลาที่แสนวุ่นวายในการทำสงครามระหว่างกันอยู่เสมอ แต่แล้ว เมื่อล้มเหลวในการรวมกัน
เข้าเป็นหนึ่งเดียว มโนคติดังกล่าวก็ค่อยๆเลือนหายไป อินเดียถูกแบ่งการปกครองออกเป็น
อาณาจักรต่างๆ ซึ่งไม่มีอาณาเขตที่แน่นอน และต่างสู้รบกันเองอยู่เสมอ ดังนั้น จึงเป็นจุดอ่อน
อย่างยิ่งเมื่อต่างชาติเช่น เติร์กเข้ามารุกราน
ส่วนในเรื่องพระราชอำนาจของกษัตริย์นั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พระองค์เป็น
ผู้นำแห่งรัฐเป็นผู้กุมอำนาจฝ่ายตุลาการ บริหาร และนิติบัญญัติไว้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งรวมไปถึง
การเป็นผู้นำในกองทัพด้วย อย่างไรก็ตาม แม้อำนาจของพระองค์จะไม่มีขีดจำกัด แต่พระองค์ก็
ไม่สามารถปฏิบัติสิ่งใดตามอำเภอใจได้ จำเป็นที่จะต้องมีผู้ให้คำปรึกษาและผู้ช่วยในการบริหาร
ประเทศ ได้แก่ รัฐมนตรี ซึ่งมีจำนวนที่ไม่แน่นอน แล้วแต่ว่ากษัตริย์มีพระประสงค์อยากให้ใคร
ทำงานในเรื่องใด ตำแหน่งสูงสุดคือ นายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับคำเรียกขานว่า มหามนตรี
(Mahamantri) หรือ ราชมัตยะ (Rajamatya) บางครั้งพบว่าข้าราชบริพารในตำแหน่งนี้มี
อิทธิพลต่อกษัตริย์บางพระองค์เป็นอย่างมาก ในขณะที่ในเรื่องของการสืบราชบัลลังก์ ตามปกติ
แล้วพระโอรสองค์โตจะเป็นผู้สืบทอดจากพระราชบิดา แต่ในความเป็นจริงกษัตริย์มีสิทธิ์ที่จะตั้ง
โอรสองค์ใดเป็นมกุฎราชกุมารก็ได้
ลักษณะพเศษที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคนี้ คือ ระบบศักดินาเจ้าผู้ครองที่ดิน ซึ่ง
ิ
กลายเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการแตกแยกและความอ่อนแอทางการเมือง เริ่ม
จากการที่กษัตริย์พระราชทานที่ดินที่เรียกว่า จาคีร์ (Jagir) เป็นรางวัลแก่ข้าราชการ และเรียก
ตำแหน่งเหล่านี้ว่า จาคีรทรร (Jagirdar) ซึ่งแปลว่าเจ้าที่ดิน เจ้าที่ดินนี้สามารถบริหารจัดการ
ที่ดินของตนเองได้โดยอิสระ สามารถมีกองทหารเป็นของตนเอง และมีสิทธิ์ที่จะขยายที่ดินของ
ื่
ตนเองออกไปในอาณาจักรของเพอนบ้านได้ อย่างไรก็ดี พวกเขายังคงขึ้นอยู่กับกษัตริย์และ
ช่วยเหลือพระองค์ยามเกิดศึกสงคราม ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า เหล่าพวกเจ้าที่ดินมี
สถานะกึ่งๆผู้ครองแคว้นที่เป็นอิสระ มีการแข่งขันที่จะเพิ่มอำนาจระหว่างกันรวมไปถึงการเพม
ิ่
อิทธิพลในราชสำนักด้วย บางครั้งจึงพบว่าเจ้าที่ดินบางคนได้แยกตัวออกไปเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น
อย่างเต็มตัว หรือกลายเป็นผู้แย่งชิงราชบัลลังก์ไปในที่สุด
2. สภาพทางเศรษฐกิจ อินเดียเป็นดินแดนแห่งความมั่งคั่ง แม้ในช่วงเวลานี้จะมีความ
วุ่นวายทางการเมือง แต่กลับมีความรุ่งเรืองทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวมไปถึง
การค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ได้แก่ เสื้อผ้า งาช้าง ไข่มุก หินมี