Page 164 - 001
P. 164
153
ค่า เครื่องเทศ ฯลฯ ในขณะที่สินค้านำเข้าหลักๆได้แก่ ผ้าไหม ไวน์ ทองคำ และม้า โดยมีสมาคม
่
ี
พอค้าเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการ อย่างไรก็ดี ความมั่งคั่งดังกล่าวกลับกระจุกตัวอยู่เพยง
กลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น กษัตริย์ เจ้าที่ดิน หรือองค์กรทางศาสนา แต่ประชาชนโดยทั่วไปยังคงใช้
ชีวิตอย่างเรียบง่ายและถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงความร่ำรวยจากทรัพยากรที่มีในแผ่นดินตนเองด้วย
เหตุผลในเรื่องวรรณะ ดังนั้น เมื่อเกิดการรุกรานโดยชนต่างชาติ ประชาชนจึงไม่ได้มีความรู้สึก
หวงแหนแผ่นดินตนเอง เนื่องจากการที่ไม่เคยได้รับประโยชน์ใดๆเลย
3. สภาพทางสังคม ระบบวรรณะยังเป็นส่วนสำคัญต่อชีวิตประชาชนและทำให้สังคม
ขับเคลื่อนไป วรรณะหลักที่สำคัญยังคงเป็น กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร แต่ในสังคม
ยังคงปรากฏวรรณะย่อยอีกมากมาย ความเป็นเสรีนิยมในตัวบุคคลสูญหายไปมากเนื่องจากมี
ความเข้มงวดในระบบวรรณะที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นผลเสียต่อชาวอินเดียเอง เนื่องจากเมื่อ
ระบบวรรณะฝังรากลึกลงในสังคมอินเดีย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงไม่เกิดขึ้น สังคมที่มี
ี
ความแตกแยกเช่นนี้ไม่เพยงนำความอ่อนแอมาสู่ประเทศแต่ยังนำมาซึ่งความเสื่อมทรามมา
จนถึงปัจจุบัน และมีผลที่ทำให้ต้องตกเป็นทาสของชาวต่างชาติในเวลาต่อมา
4. ศาสนา ศาสนาฮินดูถือเป็นศาสนาที่ทรงอิทธิพลในอินเดียในช่วงเวลานี้ ผู้ปกครอง
ส่วนใหญ่ในเกือบทุกอาณาจักรเป็นอัครศาสนูปถัมภกทั้งไวศณพนิกายและไศวนิกาย ในขณะที่
ศาสนาพทธได้สูญสิ้นความนิยมไปหมดสิ้นแล้ว เหลือจำกัดอยู่เพียงพื้นที่เล็กๆไม่กี่แห่ง ราชวงศ์
ุ
ุ
ปาละซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอินเดียเป็นราชวงศ์ท้ายๆที่ให้การสนับสนุน ศาสนาพทธที่ยัง
หลงเหลือความนิยมในช่วงนี้คือ นิกายมหายาน และตันตระส่วนศาสนาเชนนับถือกันมากใน
แถบคุชราตและอินเดียใต้ทั้งนิกายเศวตัมพรและทิฆัมพร
ความโดดเด่นในเรื่องของศาสนาในอินเดีย ไม่ได้มีเพียงความหลากหลายเท่านั้น แต่รวม
ไปถึงการเผยแพร่ธรรมะ ที่แต่ละศาสนาพยายามเข้าถึงประชาชนด้วยวิธีสันติ ทั้งนี้ วิธีในการ
ดึงดูดให้ผู้คนเข้าถึงศาสนาแต่ละศาสนาที่ดีที่สุดนั้นใช้การบรรยายธรรมหรือสนทนาธรรม ไม่มี
ศาสนาใดหรือผู้ปกครองใดเลยที่จะใช้วิธีการบังคับให้คนเข้ามานับถือศาสนาของตน ประชาชน
ชาวอินเดียอยู่กับคำสอนที่แตกต่างเหล่านี้อย่างเข้าใจมาโดยตลอด แม้แต่ศาสนาอิสลามที่เข้ามา
ภายหลังจากการที่พ่อค้าชาวอาหรับเข้ามาติดต่อค้าขายกับอินเดีย ก็ได้รับการปฏิบัติอย่างดี ใน
ฐานะที่เป็นคำสอนทางปรัชญาอีกรูปแบบหนึ่ง
5. การศึกษาและวรรณกรรม ในยุคนี้นักวิชาการและนักการศึกษาหลายคนยังคงได้รับ
การอุปถัมภ์จากผู้ปกครอง ศูนย์กลางการศึกษาได้เกิดขึ้นมากมายทั่วทั้งอินเดีย โดย
มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัย
วัลลภี และมหาวิทยาลัยกาญจี ศูนย์กลางเหล่านี้มีนักศึกษาและนักวิชาการจากทั้งในประเทศ
อินเดียเองและต่างชาติเข้ามาศึกษาและค้นหาความรู้แจ้ง (enlightenment) เป็นจำนวนมาก
ในขณะที่งานทางด้านวรรณกรรมได้มีการผลิตผลงานออกมาหลากหลายภาษา เช่น ภาษาทมิฬ
แต่ภาษาสันสกฤตยังคงได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งนี้วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและปรัชญา
ในยุคสมัยนี้ แม้จะขาดหลักปรัชญาใหม่ๆ แต่นักวิชาการหลายท่านก็ได้พยายามแปลความหลัก
ปรัชญาเดิมในความหมายที่มีความสดใหม่และเข้ากับยุคสมัย นอกจากงานเขียนทางด้านศาสนา
แล้ว งานเขียนเกี่ยวกับศิลปวิทยาการอื่นๆก็ไม่ได้ถูกละเลยไป ทั้งนี้ ได้ปรากฏงานเขียนทางด้าน