Page 170 - 001
P. 170

159


                   – 1236) เขาได้ย้ายศูนย์กลางมาอยู่ที่เมืองเดลี ยุคแห่งสุลต่านเดลีจึงเริ่มขึ้นในสมัยของอิลตุตมิช

                   นี่เอง ราชวงศ์ทาสถูกสืบต่อโดยราชวงศ์คัลจิ ซึ่งมีอำนาจอยู่เพียงเวลาไม่นาน สุลต่านองค์สำคัญ
                   ได้แก่ อะลา อุด-ดิน คัลจิ (Ala u’ddin Khalji) ซึ่งนโยบายการปกครองของพระองค์มีความ
                                                                                 ื่
                   เข้มงวดโดยประชาชนในสมัยนี้ต้องเสียภาษีให้กับรัฐมากกว่าเดิม เพอไม่ให้ประชาชนมีเงิน
                   เพียงพอในการซื้ออาวุธใช้ในการกบฏได้นั่นเอง เมื่อราชวงศ์คัลจิหมดอำนาจลง ราชวงศ์ตุกห์ลัก
                   ได้สืบทอดต่อมา จนสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 1956 (ค.ศ. 1413) หลังจากนั้น อำนาจของสุลต่าน

                                                                                     ื้
                                                               ี
                   อ่อนแอลง ราชวงศ์ต่อๆมา ไม่มีความสามารถเพยงพอที่จะครอบครองพนที่ขนาดใหญ่ของ
                   อินเดียไว้ได้ ประกอบกับการรุกรานเข้ามาของมุสลิมเชื้อสายมองโกล ทำให้ราชวงศ์เตอร์ก
                   ล่มสลายลงไปในที่สุด โดยราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองอินเดียคือ ราชวงศ์โลดิ (Lodi Dynasty)

                            ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์มุสลิม-เตอร์กล่มสลายลง คือ การที่ไม่มีนโยบาย
                   การตั้งผู้สืบทอดอย่างเป็นระบบ ตำแหน่งสุลต่านไม่ได้ติดตัวมาตามชาติกำเนิด และไม่ได้สืบต่อ

                        ่
                   จากพอสู่ลูกเหมือนกับในระบอบราชาธิปไตยอื่นๆ การขาดหายไปของสายเลือดประจำตระกูล
                   เช่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนขาดความรู้สึกผูกพันหรือสวามิภักดิ์ต่อสถาบันการปกครองอย่าง
                   ต่อเนื่อง

                          • นโยบายการปกครองและการขยายดินแดน ในฐานะผู้นำประเทศ สุลต่านมีอำนาจ
                   เด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับระบอบราชาธิปไตย แม้ในทางทฤษฎีตำแหน่งสุลต่าน

                   จะต้องอยู่ภายใต้ศาสนาอิสลาม แต่ในทางปฏิบัติสุลต่านทุกพระองค์ต่างกระทำตนอยู่เหนือ
                   คัมภีร์อัลกุรอ่าน อาจกล่าวได้ว่าอำนาจการบริหาร ตุลาการ และทหารอยู่ในความดูแลของ
                   สุลต่านทั้งสิ้น

                          ในการบริหารประเทศ มีการแบ่งส่วนงานออกเป็นกระทรวง มีเจ้ากระทรวงเป็น
                   ผู้รับผิดชอบภายใต้การดูแลของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ หน้าที่สำคัญของนายกรัฐมนตรีคือ การ

                   ดูแลเรื่องรายรับรายจ่ายทั่วไปของราชอาณาจักร และการเก็บภาษี ซึ่งนโยบายการเก็บภาษีใน
                   สมัยสุลต่านแห่งเดลีคือ การเรียกเก็บภาษีจากผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามมากกว่าผู้ที่นับถือ
                   ศาสนาอิสลาม อันเป็นความพยายามหนึ่งที่จะให้ผู้คนเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ดี

                                         ี
                   นโยบายดังกล่าวทำได้เพยงระยะหนึ่งเท่านั้น ต่อมาก็จำเป็นที่จะต้องประนีประนอมกับชาว
                   อินเดีย เพื่อไม่ให้ชาวอินเดียมีความรู้สึกว่าถูกกดขี่แต่ประการใด ภาษีที่ได้ถูกนำมาบำรุงกองทัพ

                   และส่งเป็นส่วยให้สุลต่าน ส่วนที่เหลือให้ถือเป็นรายได้สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีเอง จะเห็นได้
                   ว่า ภาษีที่เก็บมาไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศหรือแว่นแคว้นที่ปกครองแต่อย่างใดเลย
                          อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องการบริหารประเทศคือ ตำแหน่งข้าราชการไม่

                   จำเป็นต้องมาจากชนชั้นหรือวรรณะที่สูงเท่านั้น เนื่องจากสุลต่านจะคัดเลือกข้าหลวงจากผู้ที่มี
                   ความสามารถ จึงปรากฏว่าผู้ที่อยู่ในวรรณะต่ำ เช่น ศูทร มีโอกาสได้ทำงานในตำแหน่งสูงๆใน

                   ราชการได้ด้วย
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175