Page 171 - 001
P. 171

160








































                                   แผนที่ที่ 10 พื้นที่แสดงเขตการปกครองของสุลต่านแห่งเดลี

                   ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online] accessed 28 October 2018

                          ในส่วนของการขยายดินแดนนั้น ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยสุลต่านกุตาบ-อุด-ดิน ไอบาคแห่ง

                   ราชวงศ์ทาส เมื่อราชวงศ์คัลจิและตุกห์ลักขึ้นมามีอำนาจก็ยิ่งขยายดินแดนจนครอบคลุมพนที่
                                                                                                   ื้
                   เกือบทั้งหมดของอินเดียไว้ได้ โดยมีแรงจูงใจที่สำคัญคือ ทรัพย์สมบัติจากดินแดนนั้นๆ การ

                   สามารถเข้ามาครอบครองพื้นที่เหล่านี้ได้จะนำมาซึ่งรายได้มหาศาลจากภาษี ทั้งนี้ ภายใต้การนำ
                   ทัพของราชวงศ์คัลจิ คุชราต ราชสถานและมัลวะได้ยอมจำนน ต่อมาได้เข้ายึดเมืองต่างๆในแถบ
                   เดคข่าน อันเป็นด่านแรกที่จะนำไปสู่ภาคใต้ เมื่อมาถึงสมัยราชวงศ์ตุกห์ลัก บริเวณทางเหนือของ

                   เดคข่านทั้งหมดก็ตกเป็นของมุสลิม-เตอร์ก ซึ่งองค์สุลต่านปกครองเองโดยตรง อย่างไรก็ตาม
                   การครอบครองอินเดียไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากระบบการปกครองที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขาด

                                                          ื่
                   การเชื่อมโยงระหว่างผู้คนที่ต่างวัฒนธรรมเพอเข้าสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว องค์สุลต่านเองก็
                   ไม่มีนโยบายการปกครองแบบเป็นหนึ่งเดียวในระยะยาว หวังเพียงรายได้ที่เกิดจากการเก็บภาษี
                   ดังนั้น จึงเกิดการจลาจลต่อมาอีกหลายครั้งในช่วงที่มุสลิม-เตอร์กมีอำนาจอยู่ในอินเดีย

                          • เศรษฐกิจ การศึกษานโยบายทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่มุสลิม-เตอร์กเข้ามาปกครอง
                   อินเดียพบว่า รัฐบาลของสุลต่านแห่งเดลีไม่ได้มุ่งปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศเลย โดยเฉพาะ

                   การช่วยเหลือประชาชน โดยพนฐานแล้วเศรษฐกิจของอินเดียจะขับเคลื่อนด้วยงาน 3 ประเภท
                                              ื้
                   ด้วยกัน ได้แก่
                          1) งานทางด้านเกษตรกรรม ซึ่งเมื่อราชวงศ์คัลจิเข้ามาปกครอง ได้กำหนดว่าเกษตรกร

                   จะต้องเสียภาษี 3 อย่างด้วยกัน คือ ผลิตผลทางการเกษตร นมจากสัตว์ และภาษีจากบ้านที่อยู่
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176