Page 168 - 001
P. 168

157


                   จะกลับคืนสู่ฆัชนี อินเดียจึงเป็นเพยงแหล่งโภคทรัพย์ที่เตอร์กเข้ามาหาผลประโยชน์เท่านั้น
                                                  ี
                                                             ี
                   แม้แต่ปัญจาบที่เตอร์กเข้ามายึดครองก็เป็นเพยงจังหวัดที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจของ
                   อาณาจักรฆัชนาวิด ท้ายที่สุด มาห์มุดได้เข้ารุกรานแคว้นแคชเมียร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
                             ื้
                   เนื่องจากพนที่ที่มีลักษณะเป็นภูเขาสูง ดังนั้น จึงสามารถต้านทานกองทัพเตอร์กไว้ได้ สงคราม
                   ในครั้งนี้ถือเป็นสงครามครั้งสุดท้ายของมาห์มุด หลังจากความพายแพในครั้งนี้ มาห์มุดได้
                                                                              ่
                                                                                    ้
                   เดินทางกลับและไม่ได้กลับมาที่อินเดียอีกเลย
                          ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของมาห์มุดในปี พ.ศ. 1573 (ค.ศ. 1030) โอรสของพระองค์
                   คือ มาซุด (Masud) ได้สูญเสียแคว้นโคราซาน (Khorasan) ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญในแถบที่ราบสูง
                   อิหร่านให้กับกลุ่มเซลจุก (Seljuq) ชนเผ่าเตอร์กอีกกลุ่มหนึ่งไป กระนั้น อาณาจักรฆัชนาวิดก็

                   ยังคงอำนาจในพื้นที่เมืองฆัชนี (บางแห่งเรียกว่า ฆัชนา [Ghazna]) ในอัฟกานิสถานและเมืองลา
                   ฮอร์ในปัญจาบไว้ได้อีกกว่า 100 ปี อินเดียก็ไม่ได้ถูกบุกรุกจากต่างชาติเพิ่มเติมไปอีกกว่า 160 ปี

                                       ุ
                   อย่างไรก็ตาม ในราวพทธศตวรรษที่ 18 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 12) ได้เกิดความเปลี่ยนแปลง
                   ขึ้นอีกครั้ง กล่าวคือ กลุ่มเตอร์กแห่งเกอร์ (Ghur) ซึ่งเป็นกลุ่มเตอร์กอีกกลุ่มหนึ่งได้เข้ายึดครอง
                   เมืองฆัชนีและโค่นล้มอาณาจักรฆัชนาวิดลง สถาปนาราชวงศ์ฆูริด (Ghurid Dynasty) ขึ้น เมือง

                   ลาฮอร์ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของฆัชนาวิดก็ถูกเตอร์กกลุ่มใหม่นี้เข้ารุกรานด้วยเช่นเดียวกัน
                   กองทัพของฆูริดได้ยกทัพต่อไปจนถึงเดลี และสามารถยึดครองเมืองได้ในปี พ.ศ. 1736 (ค.ศ.

                   1193) ต่อมา เมื่อยึดได้เมืองพหารและเบงกอล ก็ได้ทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งตั้งอยู่ที่
                                              ิ
                                                                       ุ
                         ิ
                   เมืองพหารลง รวมไปถึงทำลายศาสนสถานของทั้งศาสนาพทธและศาสนาพราหมณ์ จนกระทั่ง
                   ในปี พ.ศ. 1747 (ค.ศ. 1204) ก็สามารถมีชัยชนะเหนือราชวงศ์เสนะได้ในที่สุด การเข้ามาของ
                   กองทัพฆูริดนำไปสู่การปกครองของสุลต่านแห่งเดลี (Sultan of Delhi) ในเวลาต่อมา


                   แบบแผนการปกครองและนโยบายทางศาสนาในสมัยราชวงศ์ฆัชนาวิด
                          การบริหารในรัฐบาลของราชวงศ์ฆัชนาวิดวางอยู่บนแบบแผนของเปอร์เซียโบราณ การ
                   เชื่อมประสานระหว่างนครหลวงและดินแดนที่ห่างไกลในอาณาจักรใช้ระบบการเดินหนังสือ

                   ทางไกล ระบบนี้กษัตริย์ในราชวงศ์อาคีมินิด (Achaemenid : 550 – 330 ปีก่อนคริสตกาล)
                                                ื่
                   เป็นผู้ริเริ่มใช้ โดยมีจุดประสงค์เพอการติดต่อสื่อสารกับข้าหลวงในพนที่ที่ห่างไกลในอาณาจักร
                                                                               ื้
                   เปอร์เซียอันกว้างใหญ่ ฆัชนาวิดได้สืบทอดระบบดังกล่าวนี้ไว้ด้วย โดยตามเส้นทางระหว่างนคร
                   หลวงจะมีคนเดินหนังสือประจำการไว้ในแต่ละที่ นายไปรษณีย์ดังกล่าวมีหน้าที่รายงานผู้ที่เอาใจ
                   ออกห่างรัฐหรือการก่อกบฎ      ในขณะที่กลุ่มผู้ตรวจการจะเข้าไปตรวจสอบว่าจะไม่มีผู้ใด

                   ต่อต้านกษัตริย์ ตำแหน่งคนเดินหนังสือและผู้ตรวจการ ถือเป็นเสาหลักสำคัญต่อการบริหารงาน
                   ในพื้นที่ที่กว้างใหญ่ของอาณาจักรฆัชนาวิด

                          ในส่วนของการบริหารด้านการเงินนั้น ราชวงศ์ฆัชนาวิดมีงบประมาณที่ต้องใช้ในการ
                   บริหารอาณาจักร 3 เรื่องหลักด้วยกัน  ได้แก่ 1) การบำรุงกองทัพ เนื่องจากมีการทำสงคราม
                                                     5
                                                                ื่
                   ต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องใช้งบประมาณเพอสนับสนุนอาวุธ ฝึกฝนและจ้างทหารเป็น



                          5  Burjor Avari. Islamic Civilization in South Asia, p. 47.
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173