Page 162 - 001
P. 162
151
เป็นตัวแทนของเขตที่จะได้เป็นสมาชิกมหาสภาในระดับหมู่บ้าน ดังนั้น มหาสภาจึงจะมีสมาชิก
ด้วยกัน 30 คน เป็นผู้ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละอาชีพ
ขอบเขตอำนาจของมหาสภาค่อนข้างกว้าง เนื่องจากต้องดูแลชุมชนและควบคุมพื้นที่ให้
อยู่ภายในขอบเขตอำนาจตามกฎหมาย อาจกล่าวได้ว่ามหาสภาต้องดูแลทั้งงานบริหาร ตุลาการ
ความเรียบร้อยปลอดภัยในหมู่บ้านรวมไปถึงเรื่องภาษี รัฐบาลกลางมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและจะ
แทรกแซงเฉพาะเรื่องที่จำเป็นเท่านั้น ดังนั้น หมู่บ้านที่อยู่ภายใต้อำนาจของโจฬะจึงมีลักษณะ
การปกครองตนเองและมีความเป็นอิสระสูง
3) สภาพทางสังคม เรื่องของวรรณะ (Varna) ยังคงเป็นเรื่องสำคัญในสังคม ถึง
กระนั้น แต่ละวรรณะต่างอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สถานะทางสังคมของผู้หญิงถือว่าดี เนื่องจาก
เป็นอิสระจากข้อจำกัดต่างๆ ตามที่สังคมฮินดูได้กำหนดไว้ เช่น การสามารถรับมรดกและเป็น
เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนพธีสตีก็ไม่ได้รับการปฏิบัติกันอย่าง
ิ
ี
แพร่หลายนัก ในขณะที่ในเรื่องการสมรสมักจะมีคู่สมรสเพยงคนเดียว (monogamy) ยกเว้น
กษัตริย์และเศรษฐี นอกจากนี้ เด็กสาวยังนิยมเป็นเทวทาสี (Devadasi) ผู้อุทิศตนแด่เทพเจ้า
โดยการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในวัดฮินดู อย่างไรก็ตาม โสเภณีและทาสยังคง
ปรากฏดาษดื่นภายในตัวเมือง
4) เศรษฐกิจและการค้า อาณาจักรโจฬะมีความเจริญทางด้านการค้ามาก สาเหตุหนึ่ง
ิ่
มาจากความสามารถในการจัดการเรื่องการบุกเบิกที่ดินและการชลประทาน ซึ่งช่วยเพมผลผลิต
ให้กับงานเกษตรกรรม โจฬะยังมีการสร้างและขยายเส้นทางการค้าภายในประเทศ เพื่อให้พ่อค้า
และนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปแต่ละเมืองได้สะดวกมากขึ้น รวมไปถึงกองทัพเรืออัน
เข้มแข็งซึ่งมีส่วนทำให้การค้าทางทะเลเจริญรุ่งเรือง โจฬะมีความสัมพนธ์ทางการค้ากับนานา
ั
ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจีน เอเชียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากสินค้า
เกษตรกรรมแล้ว สินค้าอุตสาหกรรมได้แก่ ผ้า เครื่องประดับ และโลหะก็มีส่วนทำความมั่งคั่ง
ให้แก่อาณาจักรโจฬะด้วยเช่นเดียวกัน
5) ศาสนา ราชวงศ์โจฬะนับถือศาสนาฮินดู โดยเฉพาะลัทธิภควตา (Bhagavatism)
และไศวนิกาย (Saivism) ทั้งสองกลายเป็นลัทธิที่ได้รับความนิยมมากในอินเดียใต้ไกลภายใต้
การอุปถัมภ์ของราชวงศ์โจฬะ ในช่วงเวลานี้มีการสร้างสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนาฮินดูเป็น
ี
จำนวนมาก ซึ่งไม่ได้เป็นเพยงศูนย์กลางของการบูชาเทพเจ้าแต่ยังเป็นสถานที่เพอใช้ใน
ื่
การศึกษาและการสงเคราะห์ผู้คน รวมไปถึงการแสดงออกในงานศิลปกรรม กษัตริย์โจฬะมีส่วน
อย่างมากในการอุปถัมภ์ศาสนสถานเหล่านี้
6) วรรณกรรม สมัยที่โจฬะเรืองอำนาจ ถือเป็นยุคทองของวรรณกรรมภาษาทมิฬ โดย
ส่วนใหญ่แล้วเนื้อหาจะถูกประพันธ์ในลักษณะโคลงกลอน ซึ่งผู้ประพันธ์จะได้รับการว่าจ้างและ
อุปถัมภ์จากผู้ปกครอง นอกจากภาษาทมิฬแล้ว งานเขียนต่างๆยังถูกเขียนขึ้นในภาษาสันสกฤต
ด้วย