Page 172 - 001
P. 172
161
อาศัย ซึ่งถือเป็นภาระอันหนักหน่วงเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกร ความบีบคั้นดังกล่าว ทำให้
เกษตรกรเริ่มก่อการกบฏขึ้นในพื้นที่ที่เป็นชนบทและค่อยๆรุนแรงขึ้นในสมัยของราชวงศ์ตุกห์ลัก
แต่เดิม การเก็บภาษีจะทำโดยหัวหน้าชุมชน ซึ่งถือเป็นตัวแทนของเจ้าผู้ครอบครอง
ื่
ที่ดิน ซึ่งภาษีเหล่านี้จะถูกแบ่งเพอส่งไปให้กษัตริย์ส่วนหนึ่ง แต่เมื่อมุสลิมเข้ามาครอบครอง
อินเดีย สุลต่านได้แต่งตั้งระบบขุนนางขึ้นมาใหม่ โดยเจ้าขุนมูลนายที่ดินหรือเจ้าผู้ครอบครอง
ที่ดิน (เดิม) จะได้รับการแต่งตั้งเป็น ซามินทาร์ (Zamindars) ถือเป็นตัวแทนของสุลต่านในการ
6
เก็บภาษีจากเกษตรกร ส่วนใหญ่แล้วซามินทาร์ล้วนเป็นชาวฮินดูทั้งสิ้น
2) ทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรม นอกจากผลิตผลทางการเกษตรแล้ว เศรษฐกิจ
ของอินเดียยังหมุนเวียนไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมประเภทต่างๆด้วย ได้แก่
เกลือ ซึ่งมีแหล่งสำคัญอยู่ทางภาคเหนือ ตามที่ภิกษุจีนเหี้ยนจังได้กล่าวไว้ว่า “เมืองเกตา
7
(Ketas) หรือสิงหปุระ (Singhapura) ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเทือกเขาเกลือ (salt range) ....”
อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักฐานการอ้างถึงเหมืองเกลือในสมัยเหี้ยนจัง จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 22
(คริสต์ศตวรรษที่ 16)
สินแร่เหล็ก ยังเป็นโลหะที่สำคัญของอินเดีย มันถูกนำไปทำเป็นเหล็กกล้า เพื่อใช้ในการ
ตีเป็นดาบ ในต้นฉบับไคโร เกนิซา (Cairo Geniza) ซึ่งเป็นงานเขียนของชาวยิวตั้งแต่พทธ
ุ
ุ
ศตวรรษที่ 14-24 (คริสต์ศตวรรษที่ 9-19) ยังได้บันทึกไว้ว่าในช่วงพทธศตวรรษที่ 16-17
(คริสต์ศตวรรษที่ 11-12) เดคข่านได้ส่งออกเหล็ก (iron) และเหล็กกล้า (steel) ไปยังตะวันออก
8
กลาง นอกจากนี้ที่เดคข่านยังเป็นแหล่งผลิตหินกึ่งรัตนชาติและเพชรอีกด้วย
สิ่งทอถือเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย มีการผลิตผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าไหมผสม
9
ฝ้าย ซึ่งผ้าเหล่านี้ส่งออกไปขายถึงอยุธยา สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและการจ้างงานใน
สมัยสุลต่านแห่งเดลีอีกประการหนึ่งก็คือ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยสถาปัตยกรรมรูปแบบ
ใหม่ที่มีหลังคาเป็นลักษณะโดมหรือหลังคาโค้งได้รับความนิยมมากขึ้น มาตราส่วนของป้อม
ปราการ พระราชวังและมัสยิดมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการคาดการณ์ว่าในสมัยสุลต่านอะลา อุดดิน
ื่
คัลจิ (Ala u’ddin Khalji) ได้จ้างคนงานกว่า 70,000 คนเพอก่อสร้างอาคารในสมัยของ
10
พระองค์ อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษยังเป็นอุตสาหกรรมใหม่อีกประเภทหนึ่งที่มี
11
ความสำคัญในยุคนี้
6 I. Habib. (1982). Agrarian economy. The Cambridge Economic History of India Vol.1. Cambridge :
Cambridge University Press, pp. 57-58.
7 Alexander Cunningham. (1871). The Ancient Geography of India. London : Trubner and Co., p. 125.
8 Goitein, S. D. (1966). Studies in Islamic History and Institution. Leiden, p. 339.
9 I. Habib. (1982). Non-Agricultural Production and Urban Economy. The Cambridge Economic History of
India Vol.1. Cambridge : Cambridge University Press, p. 79.
10 Ibid., p. 81.
11 กระดาษถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 แต่มันแพร่หลายออกไปนอกประเทศจีนช้ามาก
กระดาษมาถึงแบกแดดในราวพุทธศตวรรษที่ 13 และมาถึงเยอรมันในราวพุทธศตวรรษที่ 19 แม้แต่ในอินเดียเองก็พบว่าไม่เคยมี
หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอินเดียใช้กระดาษมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 ต้นฉบับงานเขียนที่ใช้กระดาษอันเก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่
ในอินเดียปัจจุบันมีอายุในพ.ศ. 1766-1767 (ค.ศ. 1223-4) จากคุชราต