Page 150 - 001
P. 150

139


                   ประภากร วรรธนะ) ถูกเทวะ คุปตะ (Deva Gupta) สังหารในการรบ ทำให้ทั้งสองอาณาจักร

                   คือ เมาขรีสและธเนศวร รวมกันเข้าเป็นอาณาจักรเดียวภายใต้การนำของหรรษะ วรรธนะ
                   (Harsha Vardhana) โอรสองค์ที่สองของประภากร วรรธนะ
                          ส่วนตระกูลไมตระกะ ได้ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่วัลลภี

                   ราชวงศ์นี้มีการปกครองยืนนานกว่า 300 ปี และถือเป็นอาณาจักรที่มีความแข็งแกร่งที่สุด
                   ท่ามกลางอาณาจักรน้อยใหญ่ที่สถาปนาขึ้นมาหลังการล่มสลายของจักรวรรดิคุปตะ เมืองวัลลภ  ี

                   ได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการศึกษาในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดี อาณาจักรนี้
                   โค่นล้มลงด้วยฝีมือของพวกอาหรับในราวพุทธศตวรรษที่ 14 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 8
                          ในบรรดาอาณาจักรต่างๆที่ก่อตั้งขึ้น สายตระกูลปุษยภูติหรือราชวงศ์วรรธนะแห่ง

                   ธเนศวรมีบทบาทมากที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดียในช่วงเวลานี้ หลังการสิ้นพระชนม์ของ
                   ประภากร วรรธนะ พระเจ้าหรรษะ วรรธนะได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้รวมอาณาจักรเมา

                   ขรีสและธเนศวรเป็นหนึ่งเดียว หรรษะ วรรธนะถือเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในราชวงศ์วรรธนะ

                          พระเจ้าหรรษะ วรรธนะ (พ.ศ. 1149- 1190 ; ค.ศ. 606-647)

                          หรรษะ วรรธนะได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียภาคเหนือใน
                   ยุคกลางช่วงแรกเริ่ม เรื่องราวของพระองค์ได้รับการศึกษาผ่านเอกสารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะ

                   เป็นจารึกนาลันทา(Nalanda) จารึกภังสเขระ (Banskhera) งานเขียนเชิดชูเกียรติประวัติเรื่อง
                   หรรษะ จริต (Harsha Charita) โดยพนาภัตตะ (Banabhatta) และบันทึกของหลวงจีนเหี้ยนซัง
                   (Hiuen Tsang) ทำให้สามารถสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับหรรษะ วรรธนะในด้านต่างๆได้ดังต่อไปนี้

                          • การขยายดินแดน การขยายดินแดนของหรรษะ วรรธนะเริ่มขึ้นในช่วง 6 ปีแรก
                   หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ อย่างไรก็ดี พระองค์ก็ไม่สามารถรวบรวมดินแดนของอินเดีย

                                       ื้
                   เหนือไว้ได้ทั้งหมด พนที่ทางตะวันตกยังเป็นของตระกูลคุรชระและกษัตริย์แห่งคุชราต
                   (Gujarat) ซึ่งได้ผูกสัมพันธ์กับหรรษะ วรรธนะด้วยการที่กษัตริย์คุชราตแต่งงานกับพระธิดาของ
                   พระองค์ นักวิชาการบางท่านเสนอว่าการกระทำเยี่ยงนี้ถือเป็นการยอมรับอำนาจของหรรษะ

                   แต่อาร์.ซี.มาชุมดาร์ (R.C. Majumdar) ให้ความเห็นว่าอาณาจักรคุชราตยังคงเป็นเอกราช
                        2
                   ต่อไป  นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อมูลในหรรษะ จริต มาชุมดาร์ได้สรุปว่าอาณาจักรของ
                                     ื้
                                                                                  ิ
                   หรรษะ ครอบคลุมพนที่บริเวณปัญจาบตะวันออก อุตตระ ประเทศ พหาร เบงกอลตะวันตก
                   และโอริสสา ในขณะที่บริเวณปัญจาบตะวันตก แคว้นสินธุ์ ราชปุตนะ เนปาล และกัมรุปะ
                   (Kamrupa) ยังคงเป็นรัฐอิสระที่ปกครองตนเองอยู่ ในขณะที่บริเวณที่ราบสูงเดคข่านลงไปเป็น

                   ของอาณาจักรจาลุกยะ ซึ่งหรรษะไม่สามารถมีชัยเหนืออาณาจักรนี้ได้เลย
                          อย่างไรก็ดี แม้หรรษะจะไม่สามารถรวบรวมพื้นที่ทั้งหมดไว้ได้ภายใต้การปกครองเดียว

                   แต่พระองค์ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้ทรงอำนาจที่ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดีย
                   ภาคเหนือไว้ได้เป็นผลสำเร็จหลังการล่มสลายของอาณาจักรคุปตะ





                          2  L.P. Sharma. Ancient History of India, p. 227.
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155