Page 149 - 001
P. 149

138


                                                             บทที่ 9

                                                       ยุคกลางของอินเดีย

                          ภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคุปตะ พนที่ต่างๆถูกแบ่งออกไปตาม
                                                                          ื้
                                                      ื้
                   ความสามารถของผู้ปกครองในแต่ละพนที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าผู้ครอบครองที่ดิน (vassal) ใน
                                                                                                   ื้
                   ระบบศักดินา (feudalism) ซึ่งแยกตนเองออกมากลายเป็นแคว้นอิสระ และค่อยๆขยายพนที่
                   จนกลายเป็นอาณาจักรน้อยใหญ่กันขึ้นมา ในยุคกลางช่วงแรก (early medieval) ซึ่งกำหนด
                   อายุอยู่ในราว พ.ศ. 1100 – 1190 (ค.ศ. 557- 647) ทางตอนเหนือของอินเดียมีตระกูล
                   ผู้ปกครองแคว้นเกิดขึ้นหลายสายด้วยกัน ได้แก่ ตระกูลเมาขรีสหรือโมขรีส (Maukharis) แห่ง

                   กาโนช (Kannauj) หรือกานยกุพชะ (Kanyakubja) ตระกูลปุษยภูติ (Pusyabhuti) แห่ง
                   ธเนศวร (Thaneswar) ตระกูลไมตระกะ (Maitrakas) แห่งวัลลภี (Vallabhi) ตระกูลคุรชระ

                   (Gurjaras) แห่งราชปุตนะ (Rajputana) ตระกูลศศางกะ (Sasanka) แห่งเบงกอล (Bengal)
                   และกลุ่มคุปตะอีกสายหนึ่ง (ซึ่งไม่สามารถยืนยันได้ว่าสัมพันธ์กับราชวงศ์คุปตะที่ยิ่งใหญ่หรือไม่)

                   ในขณะที่ทางใต้ ตั้งแต่แถบเดคข่านลงไปจนถึงอินเดียใต้ไกลก็แตกแยกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ
                   ด้วยเช่นเดียวกัน ได้แก่ จาลุกยะ (Chalukyas) ปกครองทางตอนกลางและทางตะวันตกของ
                   ประเทศ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไอโหเล (Aihole) และพาทามิ (Badami) ราชวงศ์วิษณุกุนทินะ

                   (Vishnukundina) มีอำนาจอยู่ในแถบเดคข่าน โอริสสา (Orissa) ส่วนทางใต้ไกลยังเป็นของ
                   โจฬะ ปาณฑยะ และเฉระ
                                          1

                   สภาพทางการเมืองในยุคกลางของอินเดียเหนอช่วงที่ 1 (พ.ศ.1100-1190 ; ค.ศ. 557-
                                                               ื
                   647)

                          ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งความสับสนวุ่นวาย เริ่มจากเมื่อจักรวรรดิคุปตะได้เริ่ม
                   แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ตระกูลเมาขรีสสายที่ปกครองเมืองกาโนชได้เริ่มโดดเด่น

                   ขึ้นมา ผู้ปกครองคนแรกคือ หริ วรมัน (Hari Varman) ได้ให้บุตรชายของตนแต่งงานกับ
                   น้องสาวของหรรษะ คุปตะซึ่งเป็นกลุ่มคุปตะอีกสายหนึ่ง ตระกูลเมาขรีสมีผู้ปกครองที่มี
                   ความสามารถสืบมาได้แก่ อิสานะ วรมัน (Isana Varman) และสรรวะ วรมันผู้เป็นบุตรชาย ทั้ง

                   สองพระองค์นี้เป็นผู้ขยายอาณาเขตไปจนถึงทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปัญจาบและ
                   บางส่วนของเบงกอล อีกทั้งเป็นผู้ต่อต้านการเข้ามาของพวกหูณะ (Hunas) และสามารถรักษา

                   พื้นที่ทางตะวันออกของอินเดียไว้ได้เป็นผลสำเร็จ
                           เมื่อมาถึงสมัยของอวันตี วรมัน (แห่งตระกูลเมาขรีส) การผูกสัมพันธ์ในรูปแบบของการ
                   แต่งงานยังคงดำเนินต่อไป โดยพระองค์ให้คฤหะ วรมัน (Graha Varman) ซึ่งเป็นพระโอรสเสก

                   สมรสกับพระนางราชยศรี (Rajyasri) ผู้เป็นพระธิดาของประภากร วรรธนะ (Praphakara
                   Vardhana) แห่งตระกูลปุษยภูติ ผู้ปกครองแคว้นธเนศวร อย่างไรก็ดี ตระกูลเมาขรีสและกลุ่ม

                   คุปตะในสมัยหลังได้ทำสงครามกัน คฤหะ วรมัน (แห่งเมาขรีส) ราชย วรรธนะ (โอรสของ


                          1  Shakti Chakrabarti. (2013). Settlements resource use and patterns of communication in early India C.
                   200 B.C. - 750 AD. Ph.D. dissertation, University of Delhi, p. 253.
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154