Page 153 - 001
P. 153

142


                   สภาพสังคมและการเมืองในยุคกลางของอินเดียเหนอช่วงที่ 2 (พ.ศ.1191- 1743 ; ค.ศ.
                                                                    ื
                   647-1200)
                          หรรษะ วรรธนะสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 1191 (ค.ศ. 648) พระองค์ไม่มีผู้สืบทอดราช
                   บัลลังก์ จึงเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้น อาณาจักรของพระองค์ถูกแบ่งโดยพวกขุนนางและ

                   ชนชั้นสูง ความวุ่นวายทางการเมืองสิ้นสุดลงเมื่อยโส วรมัน (Yaso Varman) ได้ขึ้นครองราชย์
                   ในปีพ.ศ. 1233 (ค.ศ. 690) ทั้งนี้ แม้แผ่นดินของอินเดียเหนือจะถูกแบ่งพื้นที่ในการปกครองไป

                   ตามผู้มีอำนาจที่หลากหลาย แต่เมืองกาโนชยังคงแสดงบทบาทการเป็นศูนย์กลางทางการเมือง
                   ของอินเดียเหนือไว้ได้ ในช่วงเวลานี้มโนคติในเรื่องการเป็นจักรพรรดิในจักรวรรดิเดียวยังอยู่ใน
                   ความคิดของกษัตริย์ทุกแคว้นที่กำลังปกครองอินเดียเหนืออยู่ในขณะนั้น จึงเป็นเหตุให้ได้มีการ

                   ทำสงครามระหว่างกันอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี ด้วยมโนคติดังกล่าวกลับช่วยให้เกิดการปกป้อง
                   บ้านเมืองจากชาวต่างชาติซึ่งขณะนั้นคือ ชาวอาหรับ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาโจมตีอินเดียได้

                   เนื่องจากผู้ที่สมควรครอบครองจักรวรรดิอินเดียควรเป็นชาวอินเดียเท่านั้น
                          อาณาจักรกาโนชหรือกานยะกุพชะโดดเด่นขึ้นมาอีกครั้งด้วยการปกครองของราชวงศ์
                                                                       ุ
                   คุรชระ-ประติหาระ (Gurjara – Pratiharas) ในราวกลางพทธศตวรรษที่ 13 (คริสต์ศตวรรษที่
                   8) แต่ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวก็ถูกกองทัพมุสลิมนำโดยสุลต่านมาห์มุด (Mahmud) ตีแตกพ่ายไปใน
                        ุ
                   ราวพทธศตวรรษที่ 16 (คริสต์ศตวรรษที่ 11) แต่มาห์มุดไม่ได้ประทับในอินเดียเป็นการถาวร
                   เนื่องจากการขยายอำนาจของพระองค์มีลักษณะเพื่อต้องการปล้นสะดมมากกว่าการครอบครอง
                   ดังนั้นกาโนชจึงถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งด้วยราชวงศ์คาหฑวาละ (Gahadvalas) แต่ราชวงศ์นี้ก็
                   สิ้นสุดลงในราวพุทธศตวรรษที่ 18 (คริสต์ศตวรรษที่ 12)

                          ทั้งนี้ นอกจากอาณาจักรกาโนชแล้ว อินเดียเหนือยังมีอาณาจักรอีกมากมาย เช่น
                   อาณาจักรกัษมีระ (Kashmir) อาณาจักรของพวกราชปุต (Rajput) และอาณาจักรปาระมาระ

                   (Parmaras) แห่งมัลวะ (Malwa) เป็นต้น แต่อาณาจักรที่สำคัญคือ อาณาจักรพิหารและ
                   เบงกอลในแถบภาคตะวันออกซึ่งปกครองโดยราชวงศ์ปาละที่มีอำนาจขึ้นมาในราวพุทธศตวรรษ
                   ที่ 13 (คริสต์ศตวรรษที่ 8) อาณาจักรนี้มักทำสงครามกับพวกกาโนชอยู่เสมอ ราชวงศ์ปาละมี

                   กษัตริย์ที่สำคัญคือ ธรรมะปาละ (Dharmapala) ครองราชย์พ.ศ.1313-1353 (ค.ศ. 770-810)
                   และเทวะปาละ (Devapala) ครองราชย์ พ.ศ. 1353 – 1393 (ค.ศ. 810 – 850)

                          ธรรมะปาละเป็นกษัตริย์ที่มีความกล้าหาญและเป็นนักการทูตที่ดี พระองค์พยายาม
                   เปลี่ยนแคว้นเบงกอลให้กลายเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งภาคเหนือ ในช่วงที่พระองค์ขึ้น
                   ครองราชย์นั้นราชวงศ์ประติหาระกำลังแผ่ขยายอำนาจไปทางตะวันออกและพยายามเข้า

                   ครอบครองกาโนช ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของอินเดียเหนือในขณะนั้น และมีการ
                   แย่งชิงกับราชวงศ์ราษฏรกูฏะ (Rashtrakutas) ที่มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐมหาราษฏร์แถบเดคข่าน

                   แต่มีความประสงค์ที่จะขยายอิทธิพลทางการเมืองขึ้นมาครอบครองอินเดียเหนือ จึงมีการรบกัน
                   กับราชวงศ์ประติหาระ ธรรมะปาละซึ่งมีแนวคิดเดียวกันกับทั้งประติหาระและราษฏรกูฏะ คือ
                   ต้องการครอบครองอินเดียเหนือจึงต่อสู้กับประติหาระ แต่พระองค์ก็พ่ายแพ้ถึง 2 ครั้ง อย่างไรก็

                   ดี ในภายหลังพระองค์ปล่อยให้ทั้งสองราชวงศ์ขัดแย้งกันต่อไป แล้วพระองค์กลับมาสถาปนา
                   อาณาจักรเบงกอลให้กลายเป็นอาณาจักรที่สำคัญทางการเมืองของอินเดียเหนือแทน กาโนช
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158