Page 155 - 001
P. 155
144
กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีอาณาเขตติดชายฝั่งทะเล ทำให้อิทธิพลศาสนาและศิลปกรรม
ของปาละสามารถเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งทางบกและทางทะเลได้โดยง่าย ดังปรากฏ
หลักฐานในงานศิลปกรรมในอาณาจักรต่างๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น
อาณาจักรชวาภาคกลางและศรีวิชัย อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรศรีเกษตรและพกาม และ
ุ
อาณาจักรเขมร ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ภูมิภาคยังปรากฏอยู่ในจารึกนาลันทา (กำหนดอายุใน
ื่
ราวพ.ศ. 1403 หรือ ค.ศ. 860) ที่ได้กล่าวว่า พระเจ้าเทวะปาละได้บริจาคที่ดินเพอให้พระเจ้า
พาลบุตร (Balaputra) มหาราชาแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ได้สร้างวัดที่นาลันทา
ภายหลังเทวะปาละ ผู้ปกครององค์ต่อๆมามีความอ่อนแอมาก ดังนั้น พื้นที่อันกว้างใหญ่
ของราชวงศ์ปาละจึงตกไปเป็นของราชวงศ์อื่น เมื่อราชวงศ์ปาละสิ้นสุดลง ราชวงศ์เสนะ (Sena
Dynasty) ได้ครอบครองพนที่ในแถบเบงกอลต่อมา กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในราชวงศ์นี้ได้แก่ วิชัย
ื้
เสนะ (พ.ศ. 1638 – 1701; ค.ศ. 1095-1158) ราชวงศ์เสนะสิ้นสุดลงในราวพุทธศตวรรษที่ 18
หลังจากนั้นพื้นที่ในแถบเบงกอลจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์มุสลิมเตอร์ก (Turks)
ุ
สภาพทางการเมืองของอินเดียใต้ (เดคข่าน) และอินเดียใต้ไกลในช่วงราวพทธศตวรรษที่
12-18
สภาพทางการเมืองของอินเดียใต้ภายหลังราชวงศ์คุปตะมีความแตกแยกเป็นอาณาจักร
ื้
ต่างๆ เช่นเดียวกับทางอินเดียเหนือ และต่างต่อสู้แย่งชิงเพื่อพยายามรวบรวมพนที่ให้อยู่ภายใต้
ี
การปกครองเพยงหนึ่งเดียว อย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลา 600 ปีในช่วงยุคกลางก็ไม่มีใคร
ี
สามารถครอบครองพนที่อันกว้างใหญ่ของอินเดียใต้ไว้ได้แต่เพยงผู้เดียว นอกจากนี้ ความ
ื้
ขัดแย้งระหว่างกันดังกล่าวยังทำให้กองทัพมุสลิมซึ่งขณะนั้นสามารถยึดพื้นที่ของอินเดียเหนือไว้
ได้แล้ว และต้องการขยายอิทธิพลลงมาทางใต้บรรลุภารกิจได้โดยง่ายอีกด้วย
ประวัติศาสตร์ในช่วงยุคกลางของอินเดียใต้มักเกี่ยวพนกับสามอาณาจักรใหญ่ๆ ได้แก่
ั
จาลุกยะแห่งพาทามิ (Chalukyas of Badami) หรือบางครั้งรู้จักกันในนามจาลุกยะตะวันตก
ื้
(Western Chalukyas) (พนที่การปกครองของจาลุกยะได้รับการสืบต่อมาโดยราษฏรกูฏะ)
ปัลลวะแห่งกาญจี (Pallavas of Kanchi) และปาณฑยะแห่งมาทุไร (Pandayas of Madurai)
4
ทั้งสามอาณาจักรนี้มีอำนาจขึ้นในราวพทธศตวรรษที่ 12 (คริสต์ศตวรรษที่ 6) และขัดแย้งต่อสู้
ุ
กันมาตลอด 600 ปี
4 Upinder Singh. A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12th
Century, p. 553.