Page 145 - 001
P. 145

134


                   กลิงคะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ เมืองมถุราและมาลวะทางภาคตะวันตก รวมไปถึงเดคข่าน

                   จนไปถึงทางตอนใต้ไกลในเขตทมิฬ
                          การมาถึงของราชวงศ์คุปตะ และการที่ปราศจากการอุปถัมภ์จากรัฐ ทำให้ศาสนาเชนดู
                   จะอ่อนด้อยลงในยุคสมัยนี้ อย่างไรก็ตาม ศาสนานี้ยังคงได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นกลางอยู่

                   มาก และแม้จะดูอ่อนด้อยกว่าศาสนาอื่นๆในยุคสมัยนี้ แต่นิกายทั้งสองของเชนคือ ทิฆัมพร
                   (Digambara) และเศวตัมพร (Svetambara) ก็ยังมีการประชุมใหญ่ถึง 2 ครั้งที่เมืองมถุรา

                   และวัลลภีในปี พ.ศ. 856 และพ.ศ. 996 ตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้คนบางส่วนในแถบเบงกอลและกาญ
                   จีทางภาคใต้ยังคงนับถือศาสนาเชน โดยนิกายทิฆัมพรได้รับความนิยมอยู่ในแถบกรรณาฏกะ
                   (Karnataka) และไมซอร์ (Mysore) ในขณะที่นิกายเศวตัมพรได้รับการนับถืออย่างมากใน

                                 25
                                 ี
                   มถุราและวัลลภ

                              4.4  คติการนับถือพระแม่และลัทธิศักติ ต้นกำเนิดของการนับถือเทพีพระแม่
                   สามารถย้อนกลับไปได้ถึงอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ทั้งนี้ เซอร์จอห์น มาแชล (Sir John
                   Marshall) อธิบดีกรมโบราณคดีของอินเดียในยุคนั้น ได้เสนอความคิดไว้ว่า มีการยอมรับกัน

                   โดยทั่วไปว่าจุดกำเนิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมการนับถือพระแม่เริ่มต้นขึ้นในแถบอนาโตเลีย หลังจาก
                   นั้นจึงแพร่กระจายออกไปในเอเชียตะวันตก ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวน่าจะมาถึงพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ
                                     26
                   สินธุด้วยเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมของชาวอารยันแต่แรกเริ่มนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญ
                   กับเทพีพระแม่เท่าใดนัก เห็นได้อย่างชัดเจนว่าในสมัยพระเวท เทพีสตรีแทบไม่มีบทบาทสำคัญ
                   อะไรเลย ซึ่งแตกต่างจากชาวท้องถิ่นที่พลังแห่งชีวิตและจักรวาลล้วนมาจากเทพพระแม่ทั้งสิ้น
                                                                                          ี
                   เมื่ออารยันเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดีย ได้มีความพยายามที่จะผนวกเทพท้องถิ่นให้กลายเป็นของ
                                           ี
                   อารยัน โดยในส่วนของเทพพระแม่นั้น วรรณะพราหมณ์เป็นผู้ริ่เริ่มแนวทางปฏิบัติ หลังจากนั้น
                                              ี
                   จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้เทพท้องถิ่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาอารยัน เป็นต้นว่า การให้
                   ชื่อใหม่เป็นภาษาสันสกฤต หรือการแต่งปกรณัมและนำโครงสร้างของศาสนาเข้าไปปลูกถ่าย
                                               27
                   คุณลักษณะต่างๆในตัวเทพีนั้นๆ
                          การบูชาพระแม่ได้ถูกผนวกเข้าไปในลัทธิไศวนิกาย และพฒนาต่อเนื่องจนแยกออกมา
                                                                             ั
                                                                             ี
                   เป็นลัทธิศักติ ถือเป็นอิตถีพละของเทพ (กำลังฝ่ายหญิง) ทำให้เทพมีอำนาจมาก ทั้งนี้ ลัทธิศักติ
                   เบ่งบานอย่างเต็มที่เมื่อเข้าสู่ยุคคุปตะ เนื่องจากในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ
                                                                                         ิ่
                                                       ิ
                   เศรษฐกิจที่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดพธีกรรมที่บูชาเทวรูปในศาสนสถานเพมมากขึ้นและ
                   กลายเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา ประติมากรรมรูปเทพีที่เป็นศักติของเทพเจ้า ก็ได้รับ
                                               28
                   การประดิษฐานเคียงคู่กันไปด้วย  เทพีจึงได้รับการบูชาไม่น้อยกว่าเทพเจ้า แม้แต่ในศาสนาเชน
                               ุ
                   และศาสนาพทธก็ได้รับอิทธิพลแนวคิดเกี่ยวกับศักติด้วยเช่นเดียวกัน ดังตัวอย่างที่ถ้ำสาตฆรา

                          25  L.P. Sharma. Ancient History of India (Pre-historic Age to 1200 A.D.), p. 213.
                          26 Sir John Marshall. (1931). Mohenjo-daro and The Indus Civilization V.1. London, p. 50.
                          27  Catherine Jantine Veitch. (1973). Mother Goddess Worship in India. Thesis of Master of Arts, Sir George
                   Williams, p. 58.
                          28   Bhattacharyya, N. N. (1974). History of the Sakta Religion. New Delhi : Munshiram Manoharlal
                   Publishers Pvt. Ltd., p. 65.
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150